ข้าพเจ้า นายเกียรติกรณ์ ตรากลาง ประเภท ประชาชน ปฏิบัติงานในพื้นที่ ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์การปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ผู้ปฏิบัติงานได้ออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ขึ้นมา 2 ผลิตภัณฑ์ คือ  ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเครื่องเคลือบดินเผา และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเครื่องเคลือบดินเผา เผา โดยมีการขึ้นรูป 2 วิธีคือการขึ้นรูปด้วยมือ (Hand Forming) และการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน (Throwing) วัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีเนื้อดินปั้น (Body) ใช้วัตถุดิบที่มีในพื้นที่คือดินพื้นบ้านตำบลหินลาด ประกอบด้วย ดินพื้นบ้านหินลาด 50% ดินดำ 50% และอีกหนึ่งวัตถุดิบคือ น้ำเคลือบ (Glaze) ซึ่งเป็นเคลือบขี้เถ้า  อีกทั้งยังมีกระบวนการตบแต่งผลิตภัณฑ์ดังนี้

วิธีการและขั้นตอนการตกแต่งผลิตภัณฑ์ การตกแต่งผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่ต้อง ทำภายหลังจากการปั้นขึ้นรูปทรงผลิตภัณฑ์เสร็จ เรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้เครื่องมือเฉพาะด้านนำมาใช้ใน การตกแต่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ ออกแบบเอาไว้ การตกแต่งผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปก็เพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์มีความสวยงาม น่าใช้ และเพิ่ม คุณค่าในด้านต่าง ๆ ขั้นตอนการตกแต่งผลิตภัณฑ์มีด้วย กันหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะปฏิบัติที่แตกต่างกันมีราย ละเอียดของการตกแต่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 5 ขั้นตอน ดังนี้ (กรณี พันธุภากร, 2534 : 174 – 179) การตกแต่งในขณะดินนุ่มหรือดินยังเปียกการตกแต่งผลิตภัณฑ์ในสภาวะดินนุ่มหรือดิน ยังเปียก มีวิธีการตกแต่งหลายวิธี ดังต่อไปนี้ การ ตกแต่งในขั้นตอนของการปั้นขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการ ตกแต่งลวดลายของเครื่องปั้นดินเผา ในสภาวะที่เนื้อดิน ยังอ่อนนุ่ม สามารถที่จะตกแต่งลวดลายที่ต้องการได้ หลายวิธีด้วยกัน เช่น การขูดขีด การตีการใช้พิมพ์กด แต่ต้องระวังในการบิดเบี้ยวเสียรูป การตกแต่งในขั้นตอน นี้นับเป็นเทคนิควิธีการที่นิยมทำกันมาแต่ในอดีต โดยมีวิธี การตกแต่งหลายวิธีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงรูปทรงของภาชนะ เป็นการตกแต่งด้วย การกด บีบ ดัน หรือดึงดินเพื่อ

เปลี่ยนรูป ทรงของภาชนะให้บิดไปจากรูปทรงเดิม ทำให้ภาชนะดูแปลกตาออกไปเกิดจุดเด่นที่ น่าสนใจ ให้เป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ภายหลังการขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อน้ำดิน แป้นหมุน หรือการขึ้นรูปด้วยมือ เช่น การใช้นิ้วมือดันดินออกมาให้โปนออกมาโดย รอบ การบีบดินให้เกิดมุมต่าง ๆ บน ภาชนะหรือการติดต่อภาชนะบางส่วนออก แล้วบีบส่วนที่เหลือเข้าหากันเพื่อทำการ สร้างรูปทรงใหญ่

  • การปั้นตกแต่งเพิ่มเติม เป็นการตกแต่งลวดลายภายหลังการขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์ โดยการขึ้น

เพิ่มเติมลายนูนบนผิวผลิตภัณฑ์ อาจทำลายนูนด้วย วิธีการแกะพิมพ์บนรูปปลาสเตอร์ หรือการปั้นต่างหาก แล้วนำมาปะติด เช่น การปั้น ดอกไม้ ใบไม้ พืช รูปสัตว์ขนาดเล็ก การปั้นลวดลาย ต่าง ๆ ตลอดจนพื้นผิววัตถุ ผ้า เชือก เปลือกไม้ หินเป็นต้น

  • การกดลวดลายประทับ – ทาบ วิธีการ นี้เป็นการตกแต่งด้วยการนําวัสดุบางชนิด ที่มีพื้นผิว

สวยงามทั้งวัสดุธรรมชาติและสิ่งของเครื่องใช้ โดยนำมากดประทับลงบน ผิวผลิตภัณฑ์ขณะที่ดินยังนิ่มอยู่ เช่น เปลือกไม้ เปลือกหอย หิน เชือก กระดุม เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถ ออกแบบลวดลายขึ้นมาใหม่ โดยการแกะ สลักลวดลายลงบนปูนปลาสเตอร์ ไม้ ยางลบ หรือ แท่งดินที่นำมาไปเผาดิบเพื่อ ความทนทาน แล้วนํามากดประทับให้เกิด ลวดลายอย่างมีจังหวะและมีความ กลมกลืนกับรูปทรง ถือเป็นวิธีการตกแต่ง ที่ได้ผลอย่างดี ซึ่งมนุษย์ได้ทำกันเป็นเวลา นานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน วัฒนธรรมที่แตกต่างกันจนถึงปัจจุบัน (สุขุมาล เล็กสวัสดิ์, 2548 : 204)

  • การใช้ลูกกลิ้งกดลาย เป็นวิธีการตกแต่งโดยการออกแบบ ลวดลายและแกะสลัก ลงบน

ลูกกลิ้งที่ทําขึ้นจากปูนปลาสเตอร์ ไม้หรือดินหมาด ที่แกะลวดลายแล้วนำไปเผาดิบ ซึ่งเมื่อกดลูกกลิ้งไปบน ผลิตภัณฑ์จะได้ลวดลายในลักษณะที่ช้า ๆ กัน โดย สามารถกลิ้งลงบนดินแผ่นก่อนนำไปขึ้นรูปหรือกลิ้งลงบน ดินนิ่มที่มีส่วนฐานกลมบนแป้นหมุนซึ่งนิยมกลิ้งบนส่วนบ่า ของภาชนะ ในลักษณะของลายเส้น หรือลายเลขาคณิต ปัจจุบันมีการใช้ลูกกลิ้งที่ทำขึ้นจากพลาสติก และโลหะ จำพวกเหล็ก หรือส่วนประกอบของเครื่องจักรมา ประยุกต์ใช้ในการตกแต่งโดยการกลิ้งให้เกิดลวดลายที่ สวยงามตามความต้องการได้อีกด้วย

  • การทำดินให้เป็นลวดลายจากวัสดุอื่นด้วยการพิมพ์ (Printing Decoration) เป็นการทำ ริ้ว

รอยบนผิวดิน ด้วยวัสดุอื่น โดยการนำดินมาทาบหรือคลึงดินให้เป็นแผ่น ด้วยไม้กลิ้งบนวัสดุที่มี ลวดลายพื้นผิว เช่น ลายจักสาน เสื่อ กระสอบ ผ้าลูกไม้ ตาข่ายไนลอน กระดาษลูกฟูก ฯลฯ ตลอดจนการทำงานพิมพ์แกะไม้ (Wood Cut) แล้วจึงนำเดินนั้นมาตัดเป็นชิ้นประกอบต่อชิ้นเป็น รูปทรง ผลิตภัณฑ์หรือใช้ในการตกแต่งเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งบน ตัวผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปอยู่แล้วก็ได้

  • การอัดดินให้เกิดลวดลายในแบบพิมพ์ (Pressing Decoration) เป็นการทําแม่ พิมพ์จากปูน

ปลาสเตอร์ โดยนำวัสดุจริงใน ธรรมชาติ เช่น ใบไม้ สัตว์ หอย ฯลฯ ตลอดจนการปั้นลวดลายในลักษณะนูนต่ำ แล้วทําพิมพ์ เมื่อนำดินไปอัดลงในพิมพ์ ปูนปลาสเตอร์จะได้ลวดลายที่มีลักษณะ ซ้ำๆๆกัน แกะออกมาทําการตกแต่งขอบ ของลวดลายนั้นๆ แล้วจึงนำมาปะตัดลง บนผลิตภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง อาจใช้ดินชนิด เดียวกัน หรือดินต่างสีก็ได้ ซึ่งถือเป็นวิธี ที่ได้รับความนิยม พอสมควรในปัจจุบัน

  • การตกแต่งด้วยวิธีการขูดขีด กรรมวิธีการตกแต่งด้วยวิธีขูดขีด เป็นวิธีการ ตกแต่งที่เก่าแก่

อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่าง มากโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะแหลมคม เช่น ไม้แหลม ไม้ไผ่ ลวด เข็ม ตะปู ช้อนส้อม พลาสติก หรือวัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นจากโลหะ หรือพลาสติก ที่ใช้ในการแต่งหน้าเค้ก เป็นต้น ขูดลงไปบนผิวของ ผลิตภัณฑ์ในขณะที่ยังมีความชื้นอยู่ ทำให้เกิดร่องรอยบน ผิวของผลิตภัณฑ์มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามน่า สนใจมากยิ่งขึ้น

สรุปการปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติงานได้ออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์  2 ผลิตภัณฑ์ คือ  ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเครื่องเคลือบดินเผา และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเครื่องเคลือบดินเผา โดยมีการขึ้นรูป 2 วิธีคือการขึ้นรูปด้วยมือ และการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน วัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีเนื้อดินปั้น ใช้วัตถุดิบที่มีในพื้นที่คือดินพื้นบ้านตำบลหินลาด ประกอบด้วย ดินพื้นบ้านหินลาด 50% ดินดำ 50% และอีกหนึ่งวัตถุดิบคือ น้ำเคลือบ ซึ่งเป็นเคลือบขี้เถ้า พร้อมออกแบบ บรรจุภัณฑ์และตราสินค้า ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เทคนิคกระบวนการผลิต กระบวนการผลิตการเผาดิบ ชุบเคลือบ และการเผาเคลือบ การพัฒนาระบบการตลาดและการขายสินค้า ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน Facebook Page U2T for BCG หินลาด