ชื่อ : นายพชรพล มาทะวงษ์ ประเภท ประชาชน

พื้นที่ปฏิบัติงาน : ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ออกแบบโดยการนำเอารูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาโบราณของอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งนำมาพัฒนาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นแต่ยังคงเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาไว้นั้นคือการแผงไปด้วยความเชื่อและมนต์ขลัง ทางทีมงานจึงได้ยกเครื่องปั้นดินเผาโบราณในกลุ่ม ประติมากรรมรูปสัตว์ เต้าปูนรูปสัตว์ และกระปุกนก ซึ่งได้แก่ เต้าปูนช้าง เต้าปูนกระต่าย กระปุกรูปนก นำมาออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้นและย่อขนาดให้ดูเล็กกะทัดรัดพกพาง่าย   วัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีเนื้อดินปั้น (Body) ใช้วัตถุดิบที่มีในพื้นที่คือดินพื้นบ้านตำบลหินลาด ประกอบด้วย ดินพื้นบ้านหินลาด 50% ดินดำ 50% และอีกหนึ่งวัตถุดิบคือ น้ำเคลือบ (Glaze) ซึ่งเป็นเคลือบขี้เถ้า โดยขึ้นการขึ้นรูปด้วยมือ (Hand Forming) การขึ้นรูปด้วยดินปั้น  ในการขึ้นรูปลักษณะนี้ดินที่จะ นำมาขึ้นรูปจะต้องผ่าน การนวดมาเป็นอย่างดีต้องไม่มี ฟองอากาศและมีความเหนียวที่พอเหมาะในการขึ้นรูป คือ ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไปจนดินติดมือ การขึ้นรูป ประเภทนี้ต้องอาศัยความชำนาญเพราะถ้าใช้เวลาในการ ขึ้นรูปนานเกินไปดินจะแห้งทำให้ทำงานได้ยาก

  1. ขั้นตอนในการปฏิบัติเริ่มต้นด้วยการทำดินให้เป็น ก้อนกลมพอเหมาะกับขนาดของชิ้นงานที่จะทำขนาดของ ชิ้นงานที่ว่านี้หากมีความชำนาญก็จะทราบว่า จะใช้ดินใน ปริมาณเท่าใดในแต่ละรูปทรง หากกำลังฝึกหัดก็สามารถ ใช้วิธีกะปริมาณดินใน เบื้องต้นได้เพราะสามารถบีบดิน ออกหรือเพิ่มดินเข้าไปได้ในภายหลัง
  2. จากนั้นกดดินให้เป็นช่องตรงกลางลูกกลมแล้วบีบ รีดดินขึ้นเป็นผนัง สูงขึ้นไป พยายามกดเฉลี่ยดินโดยรอบ ให้มีความหนาสม่ำเสมอทั่วกันจากนั้นกดปรับดิน ให้ได้รูป ทรงตามต้องการ ข้อควรระวังคือต้องทำส่วนฐานให้ เรียบร้อยก่อนที่จะขึ้นรูปด้านสูง เพราะจะทำให้สะดวก และเรียบร้อยดี
  3. การขึ้นรูปด้วยดินก้อนนี้อาจทำสำเร็จจากดิน ก้อนเดียวหรือทําเป็นส่วน แล้วมาต่อกันภายหลังก็ได้ หรือใช้ไม้แบบตบให้เป็นรูปทรงตามต้องการ ในบางครั้ง อาจใช้ เศษกระดาษปั้นเป็นก้อนไว้ภายในเพื่อช่วยให้ดินทรง รูปอยู่ได้ เมื่อผ่านการเผาเศษกระดาษ จะไหม้หมดไป
  4. การปั้นตกแต่งเพิ่มเติม (Base Relief Decora tion) เป็นการตกแต่งลวดลายภายหลังการขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์ โดยการขึ้นเพิ่มเติมลายนูนบนผิวผลิตภัณฑ์ อาจทำลายนูนด้วย วิธีการแกะพิมพ์บนรูปปลาสเตอร์ หรือการปั้นต่างหาก แล้วนำมาปะติด เช่น การปั้น ดอกไม้ ใบไม้ พืช รูปสัตว์ขนาดเล็ก การปั้นลวดลาย ต่าง ๆ ตลอดจนพื้นผิววัตถุ ผ้า เชือก เปลือกไม้ หิน เป็นต้น

สรุปการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ เป็นการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเครื่องเคลือบดินเผาโบราณเสริมบารมีโดยการนำเอารูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาโบราณของอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งนำมาพัฒนาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นแต่ยังคงเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาไว้นั้นคือการแผงไปด้วยความเชื่อและมนต์ขลัง ทางทีมงานจึงได้ยกเครื่องปั้นดินเผาโบราณในกลุ่ม ประติมากรรมรูปสัตว์ เต้าปูนรูปสัตว์ และกระปุกนก ซึ่งได้แก่ เต้าปูนช้าง เต้าปูนกระต่าย กระปุกรูปนก นำมาออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้นและย่อขนาดให้ดูเล็กกะทัดรัดพกพาง่าย   วัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีเนื้อดินปั้น (Body) ใช้วัตถุดิบที่มีในพื้นที่คือดินพื้นบ้านตำบลหินลาด ประกอบด้วย ดินพื้นบ้านหินลาด 50% ดินดำ 50%  โดยขึ้นการขึ้นรูปด้วยมือ (Hand Forming) และอีกหนึ่งวัตถุดิบคือ น้ำเคลือบ (Glaze) ซึ่งเป็นเคลือบขี้เถ้า