กระผมนายดลิวชญ์ หรีกประโคน ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ กระผมปฏิบัติงานใน ต.ประโคนชัย อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ และเป็นครั้งแรกในชีวิตของผมกับการออกบูธขายของในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
ช่วงเวลา เดือนเมษายนทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า)ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดินทางมาเพื่อปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท ผู้ที่สนใจอยากขึ้นชมปราสาทต่างคนต่างขึ้นมาเองโดยไม่กำหนดเวลาประกอบกับจังหวัดสุรินทร์มีประเพณีขึ้นเขาสวายในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกๆ ปี ท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณเห็นว่าประเพณีขึ้นเขาเป็นสิ่งดี เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญพบปะสังสรรค์ สร้างความสามัคคีและมีโอกาสได้พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย จึงริเริ่มให้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญเดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกระทั่ง
ปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือในช่วงเวลานั้นเราจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงตามความยาวของปราสาทเราสามารถมองลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตูต่างๆ กว่า ๑๐ กรอบ ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว ๘๘ เมตร มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูพอดี

ความสำคัญ
เป็นวันที่ประชาชนทั่วไปร่วมทำบุญปิดทองนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่ประดิษฐานอยู่ในปรางค์องค์น้อยและทำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมทั้งนี้เพราะในช่วงงานประเพณีขึ้นเขา ชาวบ้านหญิงชายจะแต่งกายด้วยผ้าไหมทอลวดลายสวยงามประณีตที่สุดของตนเองเป็นการอวดฝีมือและความสามารถสร้างชื่อเสียงของหมู่บ้านและของตนเองอีกด้วยและยังเป็นโอกาสให้ชาวบ้านได้เที่ยวชมความงามของปราสาทพนมรุ้ง และชักชวนให้คนเดินทางมาเที่ยวชมในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมากขึ้นทุกปี

สาระ
เป็นการแสดงถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีของประชาชนในท้องที่อำเภอประโคนชัย และบริเวณใกล้เคียงและยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

ภาพบรรยากาศในการออกบูธชายแหนมเห็ดสมุนไพรและข้าวเกรียบเห็ดรสกุ้งจ๋อม
ได้จำหน่ายสินค้า ในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2565 วันที่ 9-11 กันยายน 2565 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ต. อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

ประโยชน์ที่ได้จาการออกบูธครั้งแรก
1.การออกบูธแสดงสินค้าและบริการเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าขายสินค้าหรือบริการที่น่าสนใจ เพราะแม้ว่าช่วงระยะเวลาในการจัดงานจะน้อยและไม่ใช่ช่องทางการขายสินค้าหรือบริการที่มั่นคงถาวร แต่นิทรรศการและงานที่จัดขึ้นก็มักเป็นแหล่งชุมนุมของบรรดาลูกค้าชั้นดีที่ต่างแห่แหนมาร่วมงานกัน จึงทำให้เวลาที่มีอยู่น้อยนิดไม่ใช่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
2.นอกจากจะได้พบลูกค้ารายย่อยแล้ว ยังมีโอกาสพบคู่ค้าทางธุรกิจอีกด้วย เพราะในปัจจุบันงานมหกรรมแสดงสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้แบ่งกำหนดการให้มีวันและช่วงเวลาสำหรับนักธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อเปิดโอกาสให้พบปะพูดคุยและหาคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งส่วนมากแล้วมักเป็นวันแรก ๆ ของงาน จึงกลายเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการได้พบปะพูดคุยและทำสัญญาธุรกิจกับคู่ค้าได้โดยตรง
3.การออกบูธถือเป็นโอกาสทองในการแสดงศักยภาพสินค้า บริการ หรือการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อีกด้วย เพราะสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับผู้คนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เจ้าของกิจการยังสามารถใช้เป็นช่องทางแสดงศักยภาพให้คู่แข่งทั้งไม่ได้มาและมาออกบูธงานเดียวกันได้เห็นอีกด้วย การแสดงศักยภาพนี้ เจ้าของกิจการหรือนักธุรกิจสามารถนำสินค้าหรือบริการต้นแบบที่แสดงถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตมาโชว์ได้โดยไม่จำว่าจะเป็นสินค้าต้นแบบหรือเป็นเพียงคอนเซปต์ไอเดีย ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าพร้อมจำหน่ายเสมอไป ตัวอย่างเช่นงานออกบูธแสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีต่างๆ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่ได้อุดหนุนข้าวเกรียบกุ้งจ่อมและแหนมเห็ดสมุนไพรของพวกเราชาว U2T ตำบลประโคนชัยและสมาชิกกลุ่มสัมมาชีพประโคนชัยมา ณ ที่นี้