รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG)

ประจำเดือนกันยายน 2565

กระผม นายปรัตถกร ขาวสระ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน

รับผิดชอบงานในเขตพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ซึ่งทั้ง 3 เดือนที่กระผมได้ร่วมปฏิบัติงานกับคณะทำงานและลงพื้นที่ของตำบลบ้านสิงห์นั่น กระผมและคณะทำงานได้ต่อยอดจากเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เกิดขึ้นมานั่นก็คือ ทองม้วนมันม่วง และ แป้งสำเร็จรูป ทำให้ชาวคณะทำงานได้ระดมความคิดเกิดเป็น Logo ของตำบลบ้านสิงห์ขั้นมา นั่นก็คือ ตรา สิงห์คู่ และทางคณะทำงาน ได้ร่วมปฏิบัติงาน ประจำเดือน ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน2565  ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

วันที่ 28 สิงหาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่าน Google Meet เกี่ยวกับการงานบุญทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน หารายได้สมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง หวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตามรอยพ่อหลวง และ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ได้เข้าประชุมออนไลน์ ผ่าน Google Meet อีกครั้ง เพื่อเตรียมไปร่วมงานบุญทอดผ้าป่าเสวนาชุมชน

   

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และท้องถิ่น จัดงานบุญทอดผ้าป่าเสวนาชุมชน หารายได้สมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง หวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตามรอยพ่อหลวง  โดยนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดงานทอดผ้าป่าเสวนาชุมชน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อต้องการให้ อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงาน และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมด้วย โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้กิจกรรมภายในงานนอกจาก พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีแล้ว ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” โดย นายโจน จันได ผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และการเสวนาชุมสร้างสรรค์เรื่อง “เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง : ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน?” โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมเจ้าคณะตำบลหนองกง     นายคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา นายอำเภอนางรอง ได้กล่าวว่าการทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับ กสิกรรมธรรมชาติ และเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข

  

วันที่ 3 กันยายน 2565 กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เพื่อเตรียมงานจัดอบรมให้กับชาวบ้านในชุมชน เชิญชาวบ้านผู้สนใจมาร่วมอบรม ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวรายภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยทอดกรอบและทองม้วนมันม่วง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และให้สมาชิกทุกคนเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำท้องม้วนและกล้วยทอด เตรียมแป้งกล้วยบดให้เรียบร้อย

วันที่ 4 กันยายน 2565 ได้จัดอบรมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG) โดยวิทยากร ได้แก่ อาจารย์สุมนัสชนก นาคแท้ และอาจารย์วาทิน ประชานันท์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยทอดกรอบและทองม้วนมันม่วง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และได้ให้ชาวบ้านได้ลงมือปฏิบัติเป็นกลุ่ม ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือและความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การจัดอบรมในครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านรู้เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น หาช่องทางการขาย การอัพเดตสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ และหลังจากเลิกอบรมคณะทำงานทุกคนเตรียมอุปกรณ์ในการบดแป้งกล้วย ทำทองม้วน และเตรียมบรรจุภัณฑ์ ไว้เตรียมขายในวันที่ 14 -18 กันยายน 2565 ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 5 – 8 กันยายน 2565 กระผมและคณะทำงานได้ทำภารกิจของ ECT WEEK ได้ลงสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ แล้วนำมาสรุปประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวัน การพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือใบ Certificate : จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ จาก Application CIVIC EDUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จะได้รับใบ Certificate และรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ ซึ่งเป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสัปดาห์ ECT WEEK เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ได้ส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล (ศส.ปชต.) โดยมีหัวข้อในการสำรวจ ดังนี้  คือ บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร  การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ ลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการมีลักษณะอย่างไร และการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่อย่างไร

วันที่ 12 กันยายน 2565 กระผมได้เข้าร่วมการอบรมผ่าน Facebook Live เกี่ยวการเปิดตลาด SHOPEE E-MARKETPLACE สำหรับโครงการ U2T for BCG ในหัวข้อ “สร้างร้าน Shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว” โดย คุณธันย์ธนัช วัชรานุวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญจาก Shopee (Thailand) โดยให้แต่ละตำบลได้เปิดตลาดใน Shopee เพื่อขายสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย

วันที่ 14 กันยายน 2565 กระผมและคณะทำงานร่วมมือกันจัดซุ้ม เพื่อเตรียมงาน “ชม ชิม ช้อป แชร์” ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” บริเวณหน้าอาคาร 12 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 15 – 18 กันยายน 2565  กระผมและคณะทำงานเข้าร่วมงาน โดยได้นำผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยทอดกรอบและทองม้วนมันม่วงไปจำหน่ายที่งาน “ชม ชิม ช้อป แชร์” ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ จากจังหวัดบุรีรัมย์ ในจำนวน 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ประชาชนและผู้ร่วมชมงานได้เลือกซื้อและชมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่บริเวณหน้าอาคาร 12 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์