- บทความประจำเดือนกรกฎาคม
ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ประชาชนทั่วไปมีอาชีพทำการเกษตร เช่น ปลูกข้าว มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น หลังจากว่างเว้นจากการทำนาปี ชาวบ้านในตำบลหนองบัวโคกแต่ละหมู่บ้านก็มีอาชีพเสริม ที่โดดเด่นก็จะมีเครื่องปั่นดินเผา และส้มหมู่ จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานเล็งเห็นถึงศักยภาพของชาวบ้านในการทำเครื่องปั่นดินเผา และส้มหมู่ ซึ่งผู้ปฎิบัติงานได้นำอาชีพเสริมของชาวบ้านดังกล่าวนี้มายกระดับเศรษฐกิจภายในตำบล ทำให้ชาวบ้านได้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่ยั่งยืน
ข้าพเจ้า นายอาทร บุญประโคน ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยปฏิบัติงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น. ณ ตึก 25 ชั้น 2 ห้องประชุมใหญ่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระผมได้เตรียมเอกสารรายงานตัว สัญญาว่าจ้างงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) และในเวลา 09.30 น.ท่านรองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิด งานการอบรมปฐมนิเทศ ตลอดจนได้แนะนำแนวทางในการปฏิบัติงาน เวลา 10.00 น. กระผมได้เข้าพบท่านอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลหนองบัวโคก ซึ่งได้แก่ 1.อาจารย์จินตนา วัชรโพธิกร 2.อาจารย์ ดร.อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร 3. Aj.Ken Ny Rithy (ฤทธิ์ นี) พร้อมทั้งสมาชิกผู้ปฏิบัติงานทั้ง 10 คน ตลอดจนได้ฟังคำแนะนำและคำชี้แจง ตลอดจนรายละเอียดต่างๆของโครงการ จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่าน รวมไปถึงได้โหวตคัดเลือกมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งได้แก่ 1.นางสาวสุดารัตน์ บุญศรี ได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขา 2.นาย วีระชน จันทะนาม เป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน 3.นางกาญจนา สุ่มมาตร เป็นผู้ประสานงาน 4.นางสาวศิริลักษณ์ นอสูงเนิน เป็นเลขานุการนายวีรดนย์ เลิศนา เป็นผู้ช่วยตัดต่อวีดีโอ 6.นางสาววารินทร์ อินทร์ศรี เป็นผู้ประสานงาน 7.นายบุญเหนือ เครือตา เป็นแอดมินกลุ่ม 8.นางสาวอุดมพร แก้วแสน ผู้ประสานงาน และ 9.นางสาวนหัทภรณ์ ซอกรัมย์ ผู้ตัดต่อวีดีโอและตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งกระผมนายอาทร บุญประโคน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้มีการนัดหมายจัดทำหาข้อมูล C-01 และลงในระบบ C-01 โดยข้อเสนอโครงการจะมี 8 ส่วน ดังนี้ 1.ข้อมูลโครงการ 2.รายละเอียดสินค้าและบริการ 3.รายละเอียดผลิตภัณฑ์/บริการที่กำลังพัฒนาหรือจำหน่าย 4.การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน 5.การขายและรายได้ 6.วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ 7.เทคโนโลยีและนวัตกรรม 8.ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนได้ปรึกษาหารือในการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet เพื่อวางแผนการลงข้อมูล C-02 รวมไปถึงการเขียนบทความและคลิปวีดีโอ ตลอดจนได้นัดหมายพูดคุยปรึกษางานอีกครั้งที่ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก” ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00 น – 12:00 น ซึ่งทางสมาชิกกลุ่มทุกท่านต้องมาพร้อมกันเพื่อเรียบเรียงข้อมูลก่อนนำส่งอาจารย์
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00 น. สมาชิกผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองบัวโคก ได้มาพบปะพูดคุย ตลอดจนร่วมกันบันทึกข้อมูล C-02 ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ 1. อธิบายแผนธุรกิจในตำบลหนองบัวโคก 2.ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าในธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ 3.การสร้างรายได้ของธุรกิจ 4. ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ 5.สินค้าและราคา (Product & Price) ตลอดจนได้มีการกำหนดราคา ขนาดของสินค้า ที่จะส่งเสริม ในตำบลหนองบัวโคก รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาได้มีการนัดหมาย และลงพื้นที่ต่อไป