ED01-1 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การกำกับดูแลของ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
บทความประจำเดือนกันยายน 2565
ข้าพเจ้า นางสาวมุกรินทร์ อาจอาสา ประเภท บัณฑิต
ED01-1 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”
การทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจออนไลน์ในท้องถิ่น ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
การขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จะเน้นการพัฒนาและใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นก้าวหน้าที่เข้มข้นมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาและยกระดับคุณภาพของกำลังคน และความคิดสร้างสรรค์ในการขยายฐานเศรษฐกิจและฐานรายได้ใหม่ควบคู่กับการเพิ่มผลิตภาพของฐานการผลิตและบริการเดิมรวมทั้งการต่อยอดการผลิตและบริการเดิมโดยใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญกับการใช้ศักยภาพของทรัพยากรชีวภาพ การส่งเสริมการเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ การผสมผสานภาคบริการเข้ากับการค้าและการเตรียมความพร้อมของภาคบริการให้สามารถรองรับการแข่งขันที่เสรีขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการสร้างสังคมผู้ประกอบการที่ผลิตได้ขายเป็น โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและมาตรฐานสากลของสินค้าและบริการที่สูงขึ้นรวมถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาระบบและกลไก ตลอดจนการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อกระจายโอกาสเศรษฐกิจให้คนในชุมชนและท้องถิ่นและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง,2559 : 82)
เศรษฐกิจฐานราก (นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ที่ต้องสามารถพึ่งตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีคุณธรรม มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาทุกด้าน ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นระบบที่มีลักษณะสร้างความเข้มแข็ง และสร้างความสัมพันธ์ทางแนวราบกับเศรษฐกิจแบบปัจเจก ในระบบที่มีลักษณะความร่วมมือ เป็นหุ้นส่วนร่วมกัน เพื่อพาสังคมไทยไปสู่ความยั่งยืน (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน,2563 : 3)
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยการครอบคลุมถึงการซื้อ-ขายสินค้า การบริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต (ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-commerce : 1)
ปัจจัยที่ทำให้เกิด E-commerce
- ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า
- ความไว้วางใจ เนื่องจาก E-commerce ไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ผู้ซื้อเชื่อว่าเว็บไซต์นี้มีผู้ขายและมีสินค้าจริง ต้องทำให้เกิดความไว้วางใจก่อน
การสร้างความไว้วางใจให้กับเว็บไซต์มีดังนี้
- หน้าตาของเว็บไซต์ต้องมีการออกแบบที่น่าเชื่อถือ
- มีส่วนให้ลูกค้าร้องเรียนในกรณีเกิดข้อผิดพลาด
- ปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ทันสมัยเสมอ
- พยายามให้เว็บไม่ถูกปิดบ่อยๆ
ประโยชน์ของ E-commerce แบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้
- ต่อบุคคล
- ต่อองค์กรธุรกิจ
- ต่อสังคม
- ต่อระบบเศรษฐกิจ
ต่อบุคคล
- มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
- ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
- ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
- สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
- ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้ารายอื่น
- ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)
ต่อองค์กรธุรกิจ
- ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
- ทำให้บริการลูกค้าได้จานวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ
- ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
- ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ Internet ราคาถูกกว่าโทรศัพท์
- ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
- ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ต่อสังคม
- ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทาให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
- ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้
ต่อระบบเศรษฐกิจ
- กิจการ SMEs ในประเทศกาลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก
- ทำให้กิจการในประเทศกาลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
- บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง ทำให้อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลงด้วย
- ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกันในเมือง
เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค (ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-commerce : 4)
เว็บไซต์ขายสินค้า
มีจุดประสงค์เพื่อขายสินค้าโดยตรงการออกแบบจะออกแบบเพื่อรองรับการแสดงสินค้า มีระบบชาระเงิน ตะกร้าสินค้า เพื่ออานวยความสะดวกต่อลูกค้า
สิ่งที่ต้องเตรียมในการทำเว็บไซต์
- สินค้าที่จะขาย
- เลขบัญชีธนาคาร
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์
- รูปภาพสินค้าและข้อมูล
- แนวคิดในการปรับปรุงสินค้าในอนาคต
แนวทางการปฏิบัติ
- เร่งการประชาสัมพันธ์เว็บให้เป็นที่รู้จักในช่วงแรก
- ลดราคาสินค้าในช่วงแรก (Promotion)
- ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนจัดส่ง
- สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ในกรณีที่เกิดปัญหา ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ (ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-commerce : 6)
จากการลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมการการสินค้าทางออนไลน์ และเข้าร่วมอบรมคอร์สสร้างร้าน Shopee ให้ขายดีติดตลาด เป็นกิจกรรมของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนตำบลเจริญสุขสามารถพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และให้ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถเพิ่มยอดขายที่มีอยู่จากเดิม โดยการใช้ช่องทางการขายทางออนไลน์ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะ พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนไปหลังจากการรระบาดของโรคโควิด 19 คนเริ่มออกจากจับจ่ายใช้สอยสินค้าจากหน้าร้านน้อยลง แต่เปลี่ยนไปใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการในชุมชนจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน
ดังนั้น ชุมชนตำบลเจริญสุขจึงมีการพัฒนา และการจัดการที่ครบวงจรโดยชุมชนท้องถิ่น ทั้งการสร้างทุนที่เข้มแข็ง มีการผลิตพื้นฐาน การแปรรูป การบริการ การตลาด การผลิตอาหาร และความจำเป็นพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตต่างๆ สำหรับคนในพื้นที่อย่างพอเพียง และพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือธุรกิจของชุมชน ที่มีมิติของการเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ และมีส่วนร่วมของคนในตำบล โดยใช้ทั้งความรู้พื้นที่ที่สั่งสม หรือที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของพื้นที่ และมีการพัฒนาให้ทันสมัย พร้อมกับมีเทคนิควิทยาการ และความรู้เทคโนโลยี มาพัฒนาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับตลาด หรือสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ได้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและชุมชนตำบลเจริญสุข เป็นอย่างมากที่ได้ให้โอกาสและความรู้กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าและทีมงานขอขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ
การอ้างอิง
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-Commerce.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2563). ภาพรวมการดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.