บทความประจำเดือนสิงหาคม 2565
เขียนโดย นางสาววรรณิกา ศรีมะเรือง
ภาคประชาชน
ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ED 01 คณะครุศาสตร์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
เรื่อง ฝายน้ำตก
ฝาย เป็นโครงสร้างภูมิปัญญาทางการชลประทานมีลักษณะเป็นเขื่อนน้ำล้นใช้สำหรับการเปลี่ยนขนาดและรูปแบบการไหลของแม่น้ำ เมื่อน้ำบริเวณต้นน้ำมีปริมาณความสูงน้อยกว่าความสูงของฝายน้ำจะถูกกักเก็บไว้ แต่เมื่อระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นน้ำจะไหลข้ามไปยังท้ายน้ำ ซึ่งฝายจะพบในชุมชนหรือเมืองที่ตั้งบริเวณที่ราบกึ่งชันที่น้ำไหลค่อนข้างแรง แต่จะไม่พบในที่ราบลุ่มต่ำ เพราะน้ำไหลช้าจึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำฝายในการชะลอน้ำ
ฝายน้ำตก อยู่ในบริเวณ หมู่ 14 บ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข ทางขึ้นเขาอังคาร บริเวณใกล้เคียงกับโรงโม่หินแบล็คซี
ฝายน้ำตก หรือฝายคึกฤทธิ์ หรือชลประทาน ที่ชาวบ้านเจริญสุขเรียกกัน ฝายน้ำตกเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีขนาดกลางๆ ไม่ลึกมาก มีแหล่งต้นน้ำไหลมาจากเขาอังคาร ไหลผ่านน้ำตกซับโพธิ์ ไหลลงมาสู่ฝายน้ำตก ช่วงหน้าฝนจะมีน้ำมาก น้ำก็จะไหลลงสู่ที่นาชาวบ้านและเมื่อเวลาหน้าแล้ง น้ำก็จะแห้งขอด
เมื่อ พ.ศ.2518 สมัยนายคึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีงบประมาณมาช่วยพัฒนาระบบชลประทาน โดยได้ทำถนนกั้นระหว่างฝายกับที่ทำกินของชาวบ้าน ทำให้มีการกักเก็บน้ำที่ดีขึ้น ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านเจริญสุขก็ได้เรียก ฝายน้ำตกว่าฝายคึกฤทธิ์
และเมื่อประมาณปี พ.ศ 2557 บริษัทแบล็กซีหรือโรงโม่หินบ้านเจริญสุข ได้จัดหางบประมาณของตนเองมาขุดลอกฝายน้ำตกให้มีความลึกและความกว้างมากขึ้น เพื่อกักเก็บน้ำได้ปริมาณมากขึ้น และทำให้ชาวบ้านในชุมชนเจริญสุขได้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
ประโยชน์ของฝายน้ำตก
-เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ให้ชาวบ้านชุมชนเจริญสุขและใกล้เคียงได้ใช้ทำการเกษตร ทำนา ทำสวน
-เป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติของคนในชุมชนเจริญสุข
-เป็นแหล่งอุปโภคบริโภคของคนในชุมชนเจริญสุขและใกล้เคียง