ED03-1 การพัฒนาสินค้า และการนำสินค้าออกสู่ตลาด ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน พ.ศ.2565

ดิฉันนางจณิสตา นุชสาย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การดำเนินงานโครงการประจำเดือนกันยายนนั้น ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบล ได้ทำการลงพื้นที่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการลงไปให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองดี หลักการประชาธิปไตย และได้มีการจัดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ กับผู้นำชุมชน และนักศึกษาที่เรียนการศึกษานอกระบบ โดยผู้ปฏิบัติงานและและประชาชนในพื้นที่ ได้ช่วยกันวางแผนการดำเนินงานของตำบลยายแย้มวัฒนา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ ช่วยกันจัดโครงการอบรมให้กับประชาชนในพื้นที่

โดยทางทีมงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนาได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้แก่ชาวบ้าน 3 กิจกรรม มีกิจกรรมพัฒนาลายผ้าให้เป็นอัตลักษณ์ของทางตำบล กิจกรรมพัฒนาการผลิตข้าวตัง และกิจกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ การจัดกิจกรรมทั้งหมดมีมาตรการป้องกันโควิด-19 โดยใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เว้นระยะห่างและสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดทั้งกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และสร้างลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ ทางทีมได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบมาให้ความรู้เรื่องการออกแบบลายผ้า เพื่อสร้างเป็นลายผ้าที่มีความเป็นอัตลักษณ์ประจำตำบล โดยมีชาวบ้านกลุ่มที่ทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม และชาวบ้านที่สนใจมาเข้าร่วมกิจกรรม และร่วมกันสร้างลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ขึ้นมา เป็นลักษณะตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัววายตัวใหญ่ และวายตัวเล็ก

           

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวตัง เป็นการนำข้าวที่มีอยู่ในชุมชน ที่เกิดจากข้าวที่ปลูกที่ดินภูเขาไฟ นำมาแปรรูปเป็นข้าวตัง ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญทางด้านอาหาร จากวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ เข้ามาให้ความรู้ในครั้งนี้ โดยเริ่มจากการใช้วัตถุดิบที่หาจากได้ในชุมชน ได้แก่ ข้าวสวย เกลือป่น น้ำมันพืช น้ำพริกเผา น้ำตาลทราย น้ำเปล่าและหมูหย็อง โดยวิธีการทำคือ นำข้าวไปหุงให้สุกจากนั้น น้ำข้าวสวยที่หุงได้มาผสมกับเกลือเล็กน้อย แล้วกดให้เม็ดข้าวแตก มีความเล็กลงแล้วจึงนำไปกดเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามต้องการ จากนั้นนำไปตากแดด 2 แดดจนแห้งสนิท จึงจะนำมาทอดได้ การทอดต้องตั้งกระทะให้น้ำมันร้อน แต่ไม่ร้อนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้มีควัน และขนมจะเกิดกลิ่นได้ นำข้าวตังที่ได้ไปทอดจนฟู ลอยขึ้นมา นำไปพักไว้ให้เย็น จากนั้นมาทำน้ำราดที่มีรสชาติพริกเผา และนำหมูหย็องมาโรย ทิ้งไว้จนเย็น แล้วนำใส่บรรจุภัณฑ์

 

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ข้าวตัง ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดมาให้ความรู้กับคนในชุมชน ซึ่งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นจุดแรกที่ทางผู้ซื้อจะได้เห็นสินค้า ถ้าทำให้มีลักษณะที่ดี มีความน่าดึงดูด เหมาะสมการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย ก็จะทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดได้

      

นอกจากนี้ดิฉันและทีมงานได้ทำการอบรม BCG-Learning ในหัวข้อต่าง ๆ และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป สุดท้ายดิฉันและทีมงานได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ECT WEEK โดยลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการเมืองเรื่องใกล้ตัว วิถีประชาธิปไตยในชีวิตกประจำวัน ผู้แทนที่พึงประสงค์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่ จากนั้นจัดทำแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูล