ข้าพเจ้านางสาวทัศนีย์ นินนนท์ ประเภทประชาชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตรโครงการ : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ภายใต้การกับกำดูแลของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

พื้นที่ที่ข้าพเจ้าและสมาชิกรับผิดชอบคือ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิกได้เข้าร่วมประชุมกับคณาจารย์ ณ ตึกครุศาสตร์ อาคาร 19 ชั้น 2 ทั้งนี้ก็เพื่อรับฟังคำชี้แจงวัน เวลาและวันที่ในการจัดอบรมเกี่ยวกับดอกไม้ประดิษฐ์บ้านยาง

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้นำหนังสือไปยื่นให้แก่ คุณผ่องใส มงคลเลิศ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้มาเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการทำดอกไม้ประดิษฐ์และให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชน นอกจากนี้ยังได้นำหนังสือไปยื่นให้แก่ผู้ใหญ่บ้านผักบุ้ง เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการใช้ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ 16 เพื่อใช้จัดอบรมร่วมกับชาวบ้านในชุมชน

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิกพร้อมคณาจารย์ได้เข้าไปยังสถานที่จัดอบรม โดยข้าพเจ้าและสมาชิกได้ร่วมแรงกันจัดเตรียมสถานที่ เพื่อรองรับชาวบ้านที่จะมาเข้าร่วมอบรมในวันและเวลาที่กำหนด

เมื่อวันที่ 26 – 27 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิกพร้อมคณาจารย์ผู้กำกับดูแลประจำตำบลบ้านยาง ได้มีการเข้าอบรมร่วมกับชาวบ้านในชุมชน โดยมี คุณผ่องใส มงคลเลิศ เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการทำดอกไม้ประดิษฐ์

การทำดอกไม้ประดิษฐ์มี 2 รูปแบบ ดังนี้

1. ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้า

2. ดอกไม้ประดิษฐ์จากดอกหญ้าอบแห้ง

โดยในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 เป็นการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าและวันที่ 27 สิงหาคม 2565 เป็นการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดอกหญ้าอบแห้ง

 

 

เมื่อในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิกได้เข้าร่วมประชุมกับคณาจารย์ผู้กับกำดูแลประจำตำบลบ้านยาง ทั้งนี้ก็เพื่อรับฟังคำชี้แจงและเตรียมดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์ให้ออกมาอย่างสมบูรณ์ โดยข้าพเจ้าได้นัดหมายสมาชิกเพื่อลงพื้นที่ร่วมกันเก็บเกี่ยวดอกหญ้าตามไหล่ทางและนำไปตากแห้งต่อไป นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ก่อนจะทำการจัดเข้าช่อให้มีความสวยงาม

การทำดอกไม้ประดิษฐ์บ้านยางจะคำนึงถึงการกระจายรายได้สู่ชุมชน ดังนั้นทางสมาชิกจึงได้ประสานงานไปยังชาวบ้านในชุมชนเพื่อทำการรับซื้อดอกหญ้าที่ชาวบ้านได้ทำการเก็บเกี่ยวและนำมาขายให้กับทางสมาชิก โดยรับซื้อกิโลกรัมละ 100 บาท หลังจากที่ได้ดอกหญ้าจากชาวบ้านจนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ทางสมาชิกจึงนำไปตากแห้งประมาณ 2-3 วัน ก่อนนำมาย้อมสีให้มีสีสันสวยงาม จากนั้นจึงนำไปตากแห้งประมาณ 1-2 วัน ทั้งนี้การตากแห้งของดอกหญ้าขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวันด้วย

 

 

ในส่วนของ ECT WEEK ข้าพเจ้าได้ประสานงานไปยังคุณ ธีรณิทร์ พรมสุข ครูกศน.ตำบลบ้านยาง ทั้งนี้ก็เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย หลังจากนั้นทางสมาชิกก็ได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากชาวบ้านในชุมชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งและการดำเนินชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

เมื่อในวันที่ 12-13 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิกพร้อมคณาจารย์ผู้กำกับดูแลประจำตำบลบ้านยางได้มีการอบรมร่วมกับชาวบ้านในชุมชน หัวข้อเรื่อง การพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ดอกไม้บ้านยาง โดยมี ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ทั้งในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทำฉลากติดบนบรรจุภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดเพื่อสร้างรายได้ในตลาดดิจิทัลให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน

 

 

เมื่อในวันที่ 14-17 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิกได้มีการจัดบูธสินค้าภายใต้โครงการ U2T มหาลัยสู่ตำบล ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์บ้านยางออกจำหน่ายและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในราคาขนาดย่อมเยาว์ รวมถึงมีความหลากหลายในการเลือกซื้อ

แพ็คเกจสินค้าและราคา มีดังนี้

1. ดอกไม้ช่อใหญ่ ราคา 279 บาท

2. ดอกไม้ช่อกลม ราคา 169 บาท

3. ดอกไม้อบแห้ง ราคา 169 บาท

4. ดอกไม้ดอกเดี่ยว ราคา 59 บาท

5. เทียนหอม 25 บาท

6. ถุงหอม 15 บาท

โดยผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์บ้านยางที่วางจำหน่ายภายในบูธสามารถเรียกความสนใจจากคนทุกกลุ่มได้เป็นอย่างมาก ยอดขายทั้งหมดจึงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด นั่นก็คือ ยอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิม 10% ขึ้นไป

 

จากการทำผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากดอกหญ้าอบแห้ง ซึ่งกรรมวิธีหลากหลายขั้นตอนและสภาพอากาศจึงมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการทำดอกไม้อบแห้งเป็นอย่างมาก ดังนั้นข้าพเจ้าและสมาชิกจึงต้องเร่งรับซื้อดอกหญ้าจากชาวบ้านในชุมชน เพื่อนำมาตากแห้งในวันที่มีแสงแดดเพียงพอให้ดอกหญ้าแห้งได้ในเวลาอันกระชับ