นางสาวทิพธัญญานันท์ ภักดีนันท์
ผู้รับจ้างงานประจำตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
คณะครุศาสตร์ ( ED11-2)

 

 

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

                      เมื่อวันที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2565 ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการของชาวบ้านในตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับคณะอาจารย์ประจำตำบลและทีมงาน ED11-2 ได้พบกับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในตำบลได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ซึ่งมีหลากหลายอย่าง เช่น วาสลีนกัญชา ถุงเท้ากัญชา สบู่กัญชา พิมเสนกัญชา

                       เจ้าของสวนกัญชาซึ่งมีความรู้ความสามารถในการทำผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่มีประโยชน์และพร้อมต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมและเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมาให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น

      ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ คือ เสื้อกันหนาวซึ่งทำมาจากใยกัญชา ราคาขายในประเทศอยู่ที่ 2-3 พันบาท และส่งออกต่างประเทศราคา 30,000 บาท

กัญชา (cannabis sativa) คืออะไร

                    กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า สูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลัง ริมใบแฉก ใบหนึ่งมีราว 5 – 8 แฉก ทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน ซึ่งกัญชามีสารเคมี cannabinoids เชื่อว่ามีสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ d9- tetrahydrocannabinol (thc) จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การค้นคว้า dronabinol (marinol) ในทางการผลิตยา ซึ่งมีส่วนผสมของ thc สำหรับใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์

ความนิยม

                      นิยมเสพโดยการสูบ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง อาการโดยทั่วไปจะเซื่องซึมลงอย่างช้าๆ แต่บางรายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

อาการของผู้เสพ

                     ผู้เสพกัญชาจะมีอาการเคลิ้มจิต (euphoric “high” or “stoned”) โดยในขั้นต้นๆ มักจะเป็นอาการกระตุ้นประสาท และบางคนจะมีอาการตึงเครียดทางใจหรืออาการกังวล ต่อมามีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ ทำให้ผู้สูบรู้สึกว่า บรรยากาศทั่วๆ ไปเงียบสงบ จากนั้นมักจะมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะลั่น เดี๋ยวสงบ เพราะฉะนั้น อาการเคลิ้มจิตจึงควรเรียกว่า “อาการบ้ากัญชา″ มากกว่า และอาการอื่นๆ ที่พบคือ ผู้เสพจะรู้สึกล่องลอย ปากแห้ง สับสน อยากอาหาร ชีพจรเพิ่มขึ้น ตาแดงขึ้นในขณะที่เสพยา หากเสพเป็นประจำจะทำให้สุขภาพเสื่อมลง ได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบทางเดินหายใจอักเสบ ตะคริว ท้องร่วง

 

” ดังนั้น ถึงกัญชา จะยังอยู่ในการควบคุมตามกฎหมาย เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ดิฉันคิดว่า นอกจากประโยชน์ทางยาแล้ว หากนำส่วนที่มีประโยชน์นั้นมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จากกัญชาตามที่ได้กล่าวไว้ในครั้งแรก น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะขยายเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์จากกัญชาได้กว้างขวางและมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น และจะเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้และชื่อเสียงให้แก่ชุมชนสะแกซำด้วยค่ะ “

 

ลิ้งค์วิดีโอสำหรับชมการปฏิบัติงานของทีมงาน ตำบลสะแกซำ