บทความประจำเดือนกรกฎาคม
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
ตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านายกันต์ฏพล พลเดช ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิต ตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG U2T (U2T for BCG and Regional Development)
จากการดำเนินงานร่วมกับผู้ปฏิบัติงานตำบลบุกระสัง เดือนกรกฎาคม ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ตำบลบุกระสัง ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านกระสัง, หมู่ 2 บ้านบุ, หมู่ 3 บ้านสระสะแก, หมู่ 5 บ้านประชาสามัคคี, หมู่ 6 บ้านหนองมัน, หมู่ 7 บ้านโคก, หมู่ 8 บ้านโคกหนองหิน และหมู่ 9 บ้านหนองโบสถ์ ประชาชนมีอาชีพหลักทางการเกษตร คือ ทำนา ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง และมีอาชีพเสริมที่มีความโดดเด่นจากการขายผ้าขาวม้าทอมือและผลิตภัณฑ์จาก ผ้าขาวม้า เช่น ย่าม กระเป๋า เป็นต้น โดยจัดรวมกลุ่มกันเป็น “กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า” ของกลุ่มแม่บ้านตำบล บุกระสัง มีนางน้อย เดชสำโรง เป็นประธานกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์เหรียญโปรยทานจากริบบิ้น ส่งขายให้กับกลุ่มสตรีอำเภอหนองกี่ด้วย
จึงได้มีการประชุมและสรุปจัดทำโครงการ 2 โครงการ คือ 1) โครงการประดิษฐ์แปรรูปผ้าขาวม้าบ้านบุกระสัง (Ban Bukrasang’s handcrafted Thai loincloth) และ 2) โครงการเหรียญโปรยทานจากผ้าขาวม้าบ้านบุกระสัง (Ban Bukrasang’s Thai loincloth innovated invention) ซึ่งข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการแปลชื่อโครงการเป็นภาษาอังกฤษรวมถึงการออกแบบโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์ของโครงการดังกล่าว
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลฯ ทาง YouTube
วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าร่วมการประชุมผู้ปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ Google Meet ซึ่งเป็นการแจ้งและสร้างความเข้าใจร่วมกันจากนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้คณะกรรมการพิจารณาและนำมาปรับปรุงเพื่อจัดทำข้อมูลลงระบบตามแบบ C-01 ข้อเสนอโครงการ และการกำหนดมอบหมายงานกันในการปฏิบัติ
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ผู้ปฏิบัติงานของตำบลบุกระสัง ลงพื้นที่พบผู้นำ นายเสนอ ไพบูลย์วงค์ เพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ และแลกเปลี่ยนแนวคิด วิธีการในการทปฏิบัติงานรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์พร้อมตัวอย่างสู่การประดิษฐ์แปรรูป บรรจุภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า การตลาด ในการเป็นข้อมูลที่จะลงระบบตามแบบ C-02
จากการร่วมปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคมดังกล่าว ที่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในหาข้อมูลชุมชน การแปลภาษาอังกฤษโครงการ การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยและอาจารย์กำหนด ซึ่งทำให้การดำเนินงานของโครงการ U2T ตำบลบุกระสังมีความชัดเจนที่จะเกิดผลิตภัณฑ์ตามตามโครงการได้ คือ 1) ร่มจากผ้าขาวม้า 2) มาลัยกร-พวงหรีด ผ้าขาวม้า และ 3) เหรียญโปรยทานจากเศษผ้าขาวม้า โดยมีโครงการรองรับตามระบบมีโลโก้ตราสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องที่เป็นผู้นำชุมชนและกลุ่มแม่บ้านตำบลบุกระสัง ภายใต้การนำทีมจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วยอาจารย์ ดร.ศรีเพ็ญ พลเดช อาจารย์ ชนิสรา ไกรสีห์ อาจารย์ ดร.เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ และอาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติกลุ่มบัณฑิตและกลุ่มประชาชน ที่จะทำให้โครงการนี้สำเร็จตามเป้าหมาย สร้างคุณค่า สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นอีกด้วย
วิดิโอประกอบโครงการ: