ข้าพเจ้านางสาวพรนภาการ    ถิ่นไร่   ประเภทประชาชน   สังกัดตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
โครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิคดด้วยเศรษฐกิจ BCG
โครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG

มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน

เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเจริญเติบโตและรายได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน

ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ทางคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน ประจำตำบลตาจง

ได้เล็งเห็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ เสื่อกก ที่เป็นผลิตภัณฑ์และสินค้าโอทอปในหมู่บ้านเทพพยัคฆ์ ที่ปกติเป็นกระเป๋าสไตล์ชาวบ้านให้มีรูปแบบแปลกใหม่น่าสนใน เหมาะกับทุกวัย สไตล์Minimalโทนสีอ่อน  ภาชนะรองจานรองแก้ว  กล่องใส่กระดาษชำระ  พัฒนากระบวนการผลิตเสื่อกกให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น

-ได้เล็งเห็นการสร้างผลิตภัณฑ์ ถ่านแกร่ง ภายใต้ชื่อ ถ่านมหัศจรรย์ ที่สามารถช่วยลดปัญหากลิ่นอับในตู้เสื้อผ้าและในรถยนต์ ให้ดูน่าสนใจ เป็นที่สะดุดตาและสามารถเพิ่มรายได้และเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าให้กับตำบลตาจง  ทั้งนี้กระบวนการผลิตต้องเป็นเตาที่มีความร้อนสูง  เหมาะแก่การทำถ่านดูดซับกลิ่น

11 กรกฎาคม 2565

ห้องประชุมเทศบาล
ภาพประทับ กับท่านปลัดนาราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรเทพ วันดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรัตน์ ทศศะ
อาจารย์บาล ชะใบรัมย์
และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลตาจง
เข้าพบท่านนายกเทศบาลตำบลตาจง

(ท่านปลัดประหยัด นาราช )

เพื่อขออนุญาตเข้าพื้นที่และปฏิบัติงานใน ตำบลตาจง ท่านปลัดมีความยินดีอย่างยิ่ง

 

เข้าพบผู้ใหญ่บ้านบ้านเทพพยัคฆ์ (ผู้ใหญ่ธัญดา เชื้อสูงเนิน)

ผู้ใหญ่บ้านหัวหน้ากลุ่มสตรีและสมาชิกกลุ่ม ทอเสื่อกกเพื่อกล่าวจุดมุ่งหมายของโครงการ

 เตาเผาถ่าน

เดินทางเข้าดูเตาถ่าน โดยมี(นายอรุณศักดิ์ ศรีสว่างปัญญากุล)

เป็นผู้บรรยายวิธีการเผาถ่านและอนุเคราะห์สถานที่เผาถ่านโดยใช้ถ่านไม้ไผ่

ที่มีความพิเศษช่วยดูดซับสูงกว่า ถ่านชนิดอื่น และถ่านแกร่งที่ เผาแล้วไม่แตกหัก ออกมาเป็นรูปทรงเดิม

 

เสื่อกกบ้านเทพพยัคฆ์

จุดเด่น : มีการจัดตั้งกลุ่มตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่มีการทำเสื่อปูพื้นนั่ง และกระเป๋าจากเสื่อกก

จุดด้อย : การประชาสัมพันธ์, ความแปลกใหม่ของลวดลายเหมาะกับแต่ละวัย, ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเสื่อกก เช่น ที่รองจาน, ที่รองแก้ว, กล่องกระดาษทิชชู่, ข้างในทำจากกระดาษ ขาดความคงทน
สิ่งที่ต้องการพัฒนา : พัฒนาจุดด้อยที่พบ ประกอบด้วย ช่องทางการประชาสัมพันธ์, การออกแบบของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับวัยและมีความทันสมัยมากขึ้น, ความหลากหลายสิ่งของเครื่องใช้ให้มากขึ้น

 

ถ่านมหัศจรรย์ตำบลตาจง

จุดเด่น : เป็นตำบลที่มีชาวบ้านเผาถ่านส่งขายเป็นปกติ จนเกิดเป็นอาชีพ

จุดด้อย : ยังไม่มีการรวมกลุ่มอาชีพของการทำถ่าน, ไม่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากถ่าน

 

 

แผนธุรกิจเสื่อกกบ้านเทพพยัคฆ์ ประกอบด้วยขั้นตอนของการดำเนินการตามแผนดังนี้
1. แหล่งวัตถุดิบจากพันธมิตรหลัก ซึ่งหาได้จากในท้องถิ่น โดยชาวบ้านผู้จำหน่ายวัตถุดิบกก ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่ทำการเกษตรกรรมในตำบล และวัตถุดิบใช้สำหรับตกแต่ง จากจำหน่ายค้า-ส่งต้นทุนต่ำ
2. กิจกรรมหลักที่ดำเนินการ ร่วมทรัพยากรหลักที่มีสู่การพัฒนาต่อยอด ทีมคณะทำงานร่วมกับชาวบ้านจะดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตให้กกมีประสิทธิภาพในการใช้งาน รวมถึงรูปลักษณ์ที่ทันสมัยและน่าใช้มากยิ่งขึ้น

3.กระบวนการออกแบบคณะทำงานจะคำนึงคุณค่าที่ผู้บริโภคควรจะได้รับเป็นสำคัญ และผลิตภัณฑ์จะต้องมีมาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความหลากหลายเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรค์ โดยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เช่นกระเป๋าที่มีรูปแบบเหมาะกับวัยทำงาน ภาชนะรองแก้ว กล่องใส่กระดาษชำระ โดยทั้งหมดจะมีลักษณะเป็น”minimal concept”

4. ด้านการตลาด มุ่งตลาดภายในประเทศเป็นหลัก โดยจะวางสินค้าขายในช่องทาง Platform สำหรับขายสินค้าออนไลน์ และสถานที่ขายสินค้าที่ทางจังหวัดหรือหน่วยงานราชการจัดขึ้น ซึ่งจะมุ่งทำการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย

แผนธุรกิจถ่านมหัศจรรย์ตำบลตาจง ประกอบด้วยขั้นตอนของการดำเนินการตามแผนดังนี้
1. แหล่งวัตถุดิบจากพันธมิตรหลัก ซึ่งหาได้จากในท้องถิ่น โดยการรับซื้อไม้จากชาวบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่ทำการเกษตรกรรมในตำบล
2. กิจกรรมหลักที่ดำเนินการ ร่วมทรัพยากรหลักที่มีสู่การพัฒนาต่อยอด โดยเมื่อได้ไม้มาแล้ว ทีมคณะทำงานร่วมกับชาวบ้านจะดำเนินการพัฒนาเตาเผาที่สามารถทำความร้อนได้สูง ลดควันจากการเผา เพื่อให้ถ่านมีคุณสมบัติคือ ควันน้อย ร้อนนาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ดูดกลิ่นที่มีรูปลักษณ์ต่าง ๆ

3.กระบวนการออกแบบคณะทำงานจะคำนึงคุณค่าที่ผู้บริโภคควรจะได้รับเป็นสำคัญ และผลิตภัณฑ์จะต้องมีมาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความหลากหลายเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรค์

4. ด้านการตลาด มุ่งตลาดภายในประเทศเป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะสามารถทำยอดได้ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ถ่านหุงต้ม ถ่านดูดกลิ่น และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากถ่าน เช่น น้ำส้มจากไม้ เพื่อไล่แมลง  ใช้ทางเกษตร

ผลิตภัณฑ์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ยกระดับในชุมชนแต่สามารถส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้น
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณโครงการ U2B for BCG หน่วยงานต่างๆทุกหน่วยงานและประชาชนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือและเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน