บทความประจำเดือน สิงหาคม 2565

โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

HS12-2 ตำบลถนนหัก

ข้าพเจ้า นายรัตพล นิเวศกูล ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   จากการปฏิบัติการในเดือนที่ผ่านมา ทางทีมงานโครงการยูทูที ได้ร่วมกันวางแผน ปฏิบัติงาน ในการพัฒนา ขนมกระยาสารท และมะพร้าวเผาต่อยอดเป็นมะพร้าวแก้วในการปฏิบัติงาน U2T for BCG ในพื้นที่ตำบลถนนหักมากขึ้น และ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและ มีความน่าสนใจ คือ กระยาสารท ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าประจำในตำบล ที่สืบเนื่องมาจากตำบลถนนหัก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง และมีปริมาณน้ำฝนปานกลาง ประชากรในตำบลถนนหักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ปลูกข้าว จึงทำให้มีข้าวหอมมะลิ ข้าวจ้าว และข้าวเหนียว เป็นจำนวนมาก จึงได้มีภูมิปัญญาชาวบ้านโดยได้นำข้าวเหนียวมาแปรรูปเป็นข้าวตอก ข้าวพอง ซึ่งเป็นวัตถุดิบ  ในการทำขนมกระยาสารทสูตรโบราณ ขนมกระยาสารทในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไทย ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญกุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกัน สำหรับ วัตถุดิบการทำ   กระยาสารท ประกอบด้วย 1.ข้าวตอก  2.ข้าวพอง 3.กะทิสด   4.น้ำตาลอ้อย  5.น้ำตาลมะพร้าว 6.เกลือ 7. แปะแซ 8.ถั่วลิสง และ 9.งาและขั้นตอนและวิธีการทำกระยาสารท มีดังนี้คือ 1. เคี้ยวนำกะทิโดยใช้ไฟอ่อน ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลอ้อย น้ำตาลมะพร้าว เกลือและแปะแซลงไปเคี้ยวไฟอ่อนกว่า 10 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มความหอม หวาน มัน ของน้ำกะทิ 2. เมื่อน้ำกะทิเข้มข้นได้ที่แล้ว เตรียมข้าวตอกกับข้าวพองสำหรับคลุกเคล้ากับน้ำกะทิ และ 3. นำขนมกระยาสารทบรรจุภัณฑ์ตาม ี่ต้องการ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้เล็กพอดีคำ และจัดทำแพ็คเก็ต ให้สวยงาม ยกระดับผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มรสชาติให้มีรสชาติหลากหลาย เพิ่มสีสันให้ดูโดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป

และเราได้ทราบว่า มีการจัดตั้งกลุ่ม ทำขนมกระยาสารท โดยมีประธานกลุ่ม คือแม่การะเกด วิเศษน้ำ และ สมาชิกดังนี้

1. นางการเกด วิเศษน้ำ ประธาน
2. นางทองคำ ราชนาคา
3. นางช้อย เนียมกูล
4. นางทองแถม ชวนกิ่ง
5. นางพิกุล โชติพรหม
6. นางญาดา ชำนาญทาง
7. นางทิม ปรางจันทร์
8. นางพรรณี กรรโณ
9. นางแฉล้ม แก้ววิจิตร
10. นางประนอม ด่านกลาง

แม่การะเกด ได้เล่าประวัติ ไว้ว่า เมื่อก่อน ขนมกะยาสาด ทำขึ้น เพื่อไปทำบุญ ในงานบุญ สารทเดือนสิบ และทำแจกในพื้นที่ ชุมชน และญาติพี่น้อง ดังนั้น แม่การะเกด จึงเล็งเห็นว่า ขนมกระยาสารทสามารถ นำมาประกอบอาชีพได้ จริงได้เริ่มทำ ขาย เป็นอาชีพเสริม เริ่มทำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ขนมระยาสารท ในเมื่อก่อน นั้น รสชาติจะไม่หอมหวาน เหมือนในปัจจุบันนี้ โดย คุณ แม่การะเกดได้ปรับแต่งรสชาติ และพัฒนาสินค้า เรื่อยมา จนมีความอร่อยและรสชาติคงที่ เป็นที่ต้องการของลูกค้า ดังนั้นทางทีมงานโครงการu2t ได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมกระยาสารทให้มีเอกลักษณ์และเป็นสินค้าประจำตำบลถนนหักโดย ได้จัดทำแพ็คเกจและเพิ่มสีสันให้ดูสวยงาม และเพิ่มช่องทางการตลาด หาตลาดในออนไลน์ จัดทำเพจเพื่อโปรโมท ผลิตภัณฑ ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วกั

ภาพกิจกรรม

573EC38F-E6C5-4B5A-A53A-41D64C5991B4