ดิฉันนางสาวกรรณิกา ธรรมรักษ์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้  โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ให้ติดต่อประสานงานกับคนในพื้นที่ ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมในการดำเนินงาน

คณะผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ ลงพื้นที่พบปะกับกลุ่มทอเสื่อบ้านหนองแสง และกลุ่มข้าวหลามบ้านพิณทอง

คณะผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ ประชุมออนไลน์ชี้แจง และมอบหมายงานในส่วนที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบ

คณะผู้ปฏิบัติงาน ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทอเสื่อกก และการทำข้าวหลามของตำบลไพศาล

ผลการเก็บข้อมูลพบว่า
การทอเสื่อกกของหมู่บ้านหนองแสง ตำบลไพศาล ใช้ต้นกกที่หาได้จากธรรมชาติ ซึ่งกกจะเกิดเองตามคลอง และสระในหมู่บ้าน และใช้ไหลในการทอเสื่ออีกด้วย การทอเสื่อด้วยไหลจะให้เส้นลายระเอียดของเสื่อมากกว่าการทอด้วยกก แต่เนื่องด้วยไหลหายากกว่ากก ส่วนมากคนในชุมชนจึงนิยมทอด้วยกกมากกว่าไหล ถึงแม้การทอด้วยกกจะราคาต่ำกว่าไหลก็ตาม การทอแต่ละผืนใช้เวลาค่อนข้างเร็ว ในหนึ่งวันนั้นจะทอได้ประมาณ 3-4 ผืนต่อวันเลยทีเดียว ราคาผืนละ 300 บาทต่อผืน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำที่มาสั่งซื้อ
การทำข้าวหลามของหมู่บ้านพิณทอง ตำบลไพศาล มีอายุในการประกอบอาชีพนี้มาแล้วมากกว่า 40 ปี โดยตั้งร้านขายริมถนนหลักหมายเลข 24 ซึ่งเป็นสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้กับชุมชนเลยก็ว่าได้ มีทั้งหมด 2 ไส้ด้วยกัน ไส้ถั่วดำ และมะพร้าวอ่อน และได้ใช้ไม้ไผ่เป็นบรรจุภัณฑ์ ราคาขายอยู่ที่ มัดละ 100 บาท วัตถุดิบในการทำข้าวหลามล้วนแล้วแต่ซื้อทั้งนั้นเนื่องจากในพื้นที่ไม่สามารถผลิตเองได้มากนัก จึงใช้ทุนในการทำสูงมาก ในอดีตนั้นข้าวหลามเป็นที่นิยม จึงทำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเนื่องในสถานการณ์โควิด ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ และทำให้ชาวบ้านบางรายเลิกทำอาชีพนี้เลยก็ว่าได้ รวมถึงมีการทำข้าวหลามกันเกือบทั้งหมู่บ้าน ทำให้มีสินค้าเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนผู้บริโภคนั่นเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ครั้งนี้
ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม และมีภาวะการเป็นผู้นำ
ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี