ข้าพเจ้า นางสาวคำปน ร้อยศรี ผู้ปฏิบัติงานปะเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ HS25-2 : ลงพื้นที่ประจำเดือนกรกฎาคม ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS25-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 อาจารย์เริ่มให้พวกเราทั้ง 10 คน หาข้อมูลเกี่ยวกับตำบลโคกล่าม จำนวนประชากร จำนวนหลังคาเรือน จำนวนประชากรหญิงชายในแต่ละหมู่บ้าน จำนวนเด็กแรกเกิด สถานที่น่าสนใจในตำบล แผนที่หมู่บ้าน จำนวนผู้สูงวัย จำนวนผู้พิการ เราเริ่มต้นที่ไปขอข้อมูลทั้งหมดนี้จากเจ้าหน้าที่อนามัยโคกล่ามโดยแบ่งการรวบรวมเป็นหมู่บ้านแบ่งงานกันทำ
วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศการเปิดตัวของโครงการ U2T เพื่อทำความความรู้จักกับโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ
วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำโครงการนัดหมายประชุมที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย ศึกษาบริบทผลิตภัณฑ์ ศึกษาระบบออนไลน์ต่าง ร่วมกัน แบ่งภาระหน้าที่เบื้องต้นในส่วนต่างๆ การศึกษาและการเก็บข้อมูลของตำบลโคกล่าม คือมีจำนวน 12 หมู่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพการทำนา และเกษตรผสมผสาน มีคนว่างงานที่กลับจาก กทม.ด้วยพิษของโควิด 19 มาปักหลักปักฐานที่บ้านเกิด และเริ่มประกอบอาชีพทำนาและรับจ้าง ตำบลโคกล่ามมีกลุ่มอาชีพชื่อ กลุ่มอีโต้น้อย ซึ้งตั้งอยู่ที่บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ 10 ไร่ มีกิจกรรมกลุ่มอาชีพคือ การทำดินปลูก การเพาะกล้าไม้ป่า เช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ต้นสัก ต้นพยูง ต้นกุง และการแปรรูปกล้วย กลุ่มอีโต้น้อยมีการจดวิสาหกิจชุมชนโดยมีสมาชิกในการจด 15 คน ส่วนใหญ่กิจกรรมของกลุ่มเน้นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับป่า
ในการประชุมและลงพื้นที่ในวันนี้ทำให้เราเลือกผลิตภัณฑ์การทำกล้วยฉาบและดินปลูกอีโต้น้อย กล้วยฉาบของกลุ่มอีโต้น้อยมีชื่อว่า กล้วยเบรกแตก มาจากการกินแล้วมันอร่อยจนไม่สามารถหยุดกินได้ กล้วยเบรกแตกทำมาจากกล้วยน้ำหว้าที่นำกล้วยดิบมาปอกเปลือกแล้วนำมาบ่ม 2 คืนแล้วนำทอด รสชาติของกล้วยเบรกแตกจะออกหวานอมเปรี้ยว ซึ้งหวานมาจากการบ่มกล้วยให้สุกนั่นเอง ส่วนวัตถุดิบหาซื้อในชุมชนและสมาชิกซึ้งตอนนี้หน้าฝนกล้วยน้ำหว้าออกผลผลิตเยอะ บางคนไม่สามารถขายกล้วยได้เพราะไม่เก่งเรื่องการตลาด ก็นำมาขายให้กับกลุ่มแปรรูปกล้วย เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูก สร้างงานให้กับผู้ผลิต การขายกล้วยฉาบมีทั้งการขายส่ง ขายปลีก ช่องทางการขายคือ Facebook และคณะศึกษาดูงานที่มาเรียนรู้ กลุ่มแปรรูปยังมีการขยายความรู้การทำกล้วยฉาบให้กับผู้สนใจตั้งแต่กระบวนการเริ่มการดูกล้วยจนถึงการบรรจุภัณฑ์
การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้กลุ่มของเราตั้งใจจะยกระดับกล้วยฉาบโดยการตั้งชื่อแบรนด์ใหม่คือ จ้าวโต้น้อย และจะพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายตรงความต้องการของตลาด เห็นถึงช่องทางการเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลโคกล่าม คือหากเราสามารถพัฒนากล้วยฉาบให้มีการตลาดที่ดี ชาวบ้านที่ปลูกกล้วยก็สามารถมีรายได้จากการขายกล้วยได้ดีเหมือนกัน

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 คณะทีมผู้ปฎิบัติงานลงพื้นที่เพื่อดูการผลิตกล้วยเบรกแตกและการทำดินปลูก

การทำกล้วยเบรกแตกเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกกล้วย การตัดจุกกล้วยเพื่อให้ยางกล้วยเหือด การปลอกกล้วยเพื่อทำการบ่มให้สุก โดยใช้เวลาในการบ่ม 2-3 วัน การสไลค์กล้วยลงกะทะ การเก็บรักษากล้วย

การทำดินปลูก การนำวัสดุ ส่วนประกอบทั้งหมดมาผสมกัน โดยมี ขี้เห็ดฟาง แกลบดิบ ฟางสับ ปุ๋ยคอก ใบจามจุรี มะพร้าวสับ ตามอัตราส่วน แล้วนำมาหมักไว้ 7-14 วัน จึงทำการบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย