บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม

ข้าพเจ้านางสาวลลิตา งามศิริ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรดังนี้

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ดำเนินการส่งใบรายงานตัวและเอกสารสัญญาจ้างโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วย B.C.G.เพื่อนำส่งอาจารย์ประจำตำบลหนองยายพิมพ์ ภายในระยะเวลาตามที่อาจารย์ประจำตำบลกำหนดและ

เวลา 13.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟัง งานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) โดยกระทรวง อว. ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีผู้เข้าร่วมงานครอบคลุมทุกตำบลในประเทศผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานของโครงการ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าเรียน E-Learning ตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อที่จะได้ดำเนินการส่งข้อเสนอโครงการใน  C-01 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT ให้แก่อาจารย์ประจำตำบล และได้เข้าเรียนตามหลักสูตรดังนี้

1.M-01 แนวคิดและเศรษฐกิจ

2.M-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking

วันที่  8 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบล โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผ่านช่องทาง ยูทูป ช่อง U2T BRU รับฟังกระบวนการทำงานและส่งข้อเสนอโครงการใน  C-01 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT ให้แก่อาจารย์ประจำตำบลและการทำงานต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้รับมอบหมาย ผู้ปฏิบัติงานต้องเขียนบทความคนละ 1 บทความ และรายงานผลการปฏิบัติงานให้แก่อาจารย์ประจำตำบลได้ประเมินผลการปฏิบัติงานภายในเดือนนั้น ๆ

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ เข้าประชุมร่วมกับอาจารย์ประจำตำบล อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ผ่านระบบ google meet และได้ปรึกษาเกี่ยวกับโครงการที่จะยื่นพิจารณาตามแบบฟอร์ม C-01  ข้อสรุปคือ เสนอโครงการ 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการส่งเสริมและพัฒนาการทำหมูกระจกสมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชุมชน 2.โครงการส่งเสริมและพัฒนาการทำเยลลี่น้ำมะนาวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชุมชน และหลังจากที่ได้ข้อสรุปโครงการแล้ว ข้าพเจ้าในฐานะแอดมินประจำตำบล ข้าพเจ้าได้กรอกข้อมูลโครงการ C-01 ลงในแบบฟอร์มผ่านระบบ BCG-ASSIGNMENT และส่งโครงการลงในระบบเพื่อรออาจารย์ประจำตำบลอนุมัติและดำเนินการตามกระบวนการต่อไป

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ “การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD” โดยวิทยากร  : ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ได้รับความรู้ในส่วนการเก็บข้อมูล TCD การติดตั้งแอปพลิเคชั่นในการจัดเก็บข้อมูล TCD ในโทรศัพท์เพื่อง่ายและสะดวกในการเก็บข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ที่พัก/โรงแรม

4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

6.พืชในท้องถิ่น

7.สัตว์ในท้องถิ่น

8.ภูมิปัญญาท้องถิ่น

9.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

เนื่องจากข้าพเจ้าเคยเป็นผู้ปฏิบัติในโครงการ U2T เฟส 1 มาแล้ว ข้อมูล TCD จึงเป็นข้อมูลที่เคยเก็บข้อมูลมาบ้างแล้วพอสมควรจึงง่ายต่อการทำความเข้าใจและเก็บข้อมูล TCD ในเฟส2 ครั้งนี้