โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

ข้าพ นางสาวนัฐฐา กลิ้งรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและสมาชิกได้มีการลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสวนสุขกวีรัตน์ โครงการโคกหนองนาโมเดล บ้านยางน้ำใส หมู่ที่ 7 ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยลุงสมพร – ป้าสมร กวีรัตน์ เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการเกษตรพัฒนาหมู่บ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายในบริเวณสวนการเรียนรู้แบ่งโซนพื้นที่จัดสรรที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเล้าเลี้ยงไก่ บ่อเลี้ยงปลา บ่อทดสอบเลี้ยงหอยขม การปลูกผักตามริมรั้ว การให้ความรู้ต่าง ๆ ทั้งการบำรุงดิน การทำปุ๋ย จนรวมไปถึงการปลูกต้นหม่อน จากการลงพื้นที่นั้นทางคุณลุงสมพรได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงการเริ่มต้นตั้งศูนย์แห่งนี้ เดิมทีเมื่อ 15 ปีที่แล้วที่ยังเป็นพื้นที่โล่งโดยรอบและได้ทำการเกษตรผสมผสานไปเรื่อย จากนั้นได้มีหน่วยราชการมาเลือกติดต่อทุกหน่วยงานราชการจึงได้มารวมกันที่นี้หมดอย่างเช่นการเกษตร ปศุสัตว์ จัดงานการอบรม อีกทั้งทางด้านคุณลุงสมพรยังได้พาดูกระบวนการขั้นตอนการปลูกต้นหม่อนง่าย ๆ ตามแบบฉบับของคุณลุง โดยมีขั้นตอนดังนี้

        1. เลือกกิ่งต้นหม่อนที่ไม่แก่จัด จากนั้นตัดกิ่งต้นหม่อนให้ยาวประมาณ 20 เซนติเมตรต่อท่อนเพื่อทำการชำ
2. ใช้มีดปาดลงตรงโคนกิ่งต้นหม่อนปาดเป็นรูปแบบปากฉลาม จากนั้นใช้มีดกรีดลงตรงโคนประมาณ 3 จุด เพื่อเตรียมให้รากงอกได้ง่าย
3. เตรียมน้ำสะอาดโดยประมาณ 600 มิลลิมิตร ผสมกับ M150 2 ฝา จากนั้นนำกิ่งต้นหม่อนที่ตัดมาแช่ลงน้ำ 1 คืน
4. นำกิ่งต้นหม่อนที่เตรียมไว้ไปทำการชำ ด้วยการเตรียมแกรบดำที่ใช้วิธีควบแน่นกรอกลงในถุงพลาสติกแล้วอัดดินให้แน่น จากนั้นเตรียมรูประมาณ 1 นิ้วเตรียมไว้เพื่อที่จะนำกิ่งต้นหม่อนปักลงบนถุงดิน
5. ปักกิ่งต้นหม่อนที่แช่น้ำไว้ 1 คืน ลงในถุงดิน จากนั้นหมั่นรดน้ำและดูแลกิ่งต้นหม่อนที่ทำการชำไว้อย่างสม่ำเสมอ
จากการลงพื้นที่และเรียนรู้การปลูกต้นหม่อน จะเห็นว่าประโยชน์ของต้นหม่อนนอกจากนำไปเลี้ยงหนอนไหมแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นชาใบหม่อนด้วย ซึ่งทางสมาชิกโครงการ u2t ตำบลสตึกจะนำองค์ความรู้มาถ่ายทอดและพัฒนาชุมชนต่อไป