NS06-2 เตรียมความพร้อมสร้างผลิตภัณฑ์สู่ U2T FOR BCG ตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน กรกฎาคม 2565

            ข้าพเจ้า นางสาว รัชธิดา บุญเชิด ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประจำตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T For BCG ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

             วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เข้าร่วมงานเปิดตัว U2T for BCG ผ่านออนไลน์บนเพจกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เวลา 13.30 น.
โดยทาง อว.และมหาวิทยาลัยได้ให้ความรู้ด้านการเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับรายได้ให้ประชาชน เช่นการ นำผลิตภัณฑ์มาเปลี่ยนแพคเกจจิ้งเพื่อให้เพิ่มมูลค่า รวมไปถึงการดึงเอาวัตถุดิบตามธรรมชาติที่มีในแหล่งชุมชนกลับมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ตามเศรษฐกิจ BCG Bio-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ, Circular-Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน, Green-Economy เศรษฐกิจสีเขียว

วันที่ 4 กรกฎาคม เข้าพบอาจารย์หัวหน้าโครงการร่วมกับผู้เขัาทำงาน โดยได้ปรึกษาถึงโครงการ u2t for BCG และการนำเสนอข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ในแหล่งชุมชนว่าพบเห็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใดบ้าง ที่จะสามารถนำมาต่อยอดให้เข้าตามหลัก BCG และ ลงพื้นที่ไปยัง อบต. กลันทา เพื่อสอบถามข้อมูล ผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

วันที่ 6 กรกฎาคม อาจารย์ร่วมกับทีมงานลงพื้นที่ไปยังตำบลกลันทา โดยไปพบท่านปลัด เพื่อสอบถาม ปรึกษา แนวทางในการเลือกผลิตภัณฑ์ ท่านปลัดจึงได้เสนอ มา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์ และ กลุ่มหมอนสมุนไพร หลังจากนั้นจึงลงไปยังพื้นที่กลุ่มแรก กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์ ณ บ้านผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ.โคกกลาง ต.กลันทา ได้ข้อมูลด้านการผลิต น้ำยาล้างจาน ยาสระผม สบู่ และน้ำยาปรับผ้านุ่ม โดยสูตรการทำน้ำยาต้องหมักมะกรูดนานถึง 2 ปีเพื่อความเข้มข้นของหัวเชื้อมะกรูดหมักและกลุ่มพบปัญหาด้านการใช้งานไม่เกิดฟอง แพคเกจจิ้งไม่ทันสมัย ฉลากโลโก้เปียกขาดง่าย และการขาดแหล่งจำหน่าย อาจารย์และทีมงานจึงร่วมกันปรึกษาเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่อไป

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้า ทีมงานและอาจารย์ได้ลงพื้นที่ไปยัง ม. 2 บ้านกลันทา ต.กลันทา เพื่อเข้าไปพบกลุ่ม “หมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ” โดยประธาน คุณป้า สร้อย ด้ายรินรัมย์ ยินดีที่ได้ร่วมโครงการกับทาง U2T FOR BCG เพราะตนเห็นว่าในชุมชนมีสมุนไพรที่หลากหลายและมีจำนวนมาก รวมทั้งผ้าลายหางกระรอกคู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ผลผลิตเหล่านี้จึงควรแก่การนำมาแปรรูปเป็นหมอนสมุนไพร เพื่อดึงดูดเอกลักษณ์ออกมา และสร้างรายได้เอื้อให้แก่คนในชุมชนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ข้าพเจ้าและทีมงานจึงกลับไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องหมอนสมุนไพรว่าจะสร้างอัตลักษณ์ให้หมอนเกิดความโดดเด่นได้อย่างไรบ้างและที่สำคัญ เรื่องการหาวิธีเก็บกลิ่นสมุนไพรให้มีความคงกลิ่นไว้ให้ได้นานที่สุด

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ทางทีมงานได้ร่วมทำหมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แบบตัวอย่าง ร่วมกับ กลุ่มสมาชิกหมอนสมุนไพร โดยปรึกษาร่วมกันออกแบบ รูปแบบหมอน และแบ่งหน้าที่กันไปปฏิบัติด้านการตัดเย็บผ้า และการเตรียมถุงหอมสมุนไพรจนแล้วเสร็จตามเป้าหมาย เมื่อเสร็จแล้วได้มีการทดลองหมอนพบว่า มีกลิ่นหอมของสมุนไพร ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และสดชื่น ทั้งนี้การทำหมอนได้ทั้งความรู้ และพบปัญหาที่จะนำไปแก้ไข และส่งเสริมในครั้งหน้า
ทั้งนี้ข้าพเจ้ามีความประทับใจเป็นอย่างมากในการร่วมงานครั้งนี้ที่ช่วยกันปรึกษา แก้ไขปัญหาร่วมแรง ร่วมใจ กันเป็นอย่างดีจนสำเร็จ ต้องขอขอบคุณผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ท่านอาจารย์ที่ให้คำแนะนำ และที่สำคัญสมาชิกกลุ่มสมุนไพร ,กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์จากน้ำหมักมะกรูดที่ได้ให้ความสนใจร่วมมือกันอย่างดีจนเกิดเป็นชิ้นงานผลิตภัณฑ์ เพื่อการพัฒนาต่อยอดสินค้าของชุมชนสืบต่อไป ขอบคุณค่ะ