ข้าพเจ้านางสาวปกิตตา ขำวงศ์ กลุ่มประชาชน ตำบลทรัพย์พระยา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทร์และข้าวฮาง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์พระยา โดยมี นางภูริตา เจริญรัมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านโคกระกาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ วิทยากรข้าวฮาง อาจารย์ดนัย สุริยะวงศรี อาจารย์เกษียณชำนาญการ ตำบลหนองโสน ในการอบรมครั้งนี้ ทางผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งกลุ่มการทำงานเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มดอกไม้จันทร์ และกลุ่มข้าวฮาง กลุ่มละ 5 คน ซึ่งแบ่งกลุ่มแล้วข้าพเจ้าได้กลุ่มข้าวฮาง และชาวบ้าน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ฟังวิทยากรบรรยาย สารอาหาร สรรพคุณ ประโยชน์ ขั้นตอนการทำข้าวฮางอย่างละเอียด

 

 

สารอาหาร สรรพคุณ และประโยชน์ของข้าวฮางงอก

  •  มีโปรตีนย่อยเป็นแปปไทด์กรดอะมิโน 22 ชนิด ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • มีไฟเบอร์สูงกว่าข้าวฮาง 15-20 เท่า ช่วยให้อิ่มท้องไม่หิวง่าย ลดความอ้วน ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน ขับถ่ายสะดวก และดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย
  • มีไขมันชนิดดีหลายชนิด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ดีกว่าวิตมินอี 6 เท่า ยับยั้งป้องกันการเกิดฝ้าบนใบหน้า และปัญหาวัยทอง
  • มีกาบา (GABA-Gamma aminobutyric acid) มีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการเพาะงอก และมีมากกว่าไม่ผ่านการเพาะงอกถึง 15 เท่าเลยทีเดียว ช่วยรักษาสมดุลในสมอง ลดความวิตกกังวล หลับสบาย ป้องกันอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม คลาบกล้ามเนื้อ ชะลอความชรา ลดความดันเลือด กระตุ้นการขับถ่าย และป้องกันมะเร็งลำไส้

“ข้าวฮางงอกคืออะไร”

  • ข้าวฮางงอกเป็น๓ูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคอีสานมานานนับร้อยปี เป็นข้าวที่เพาะงอกจากข้าวเปลือก มีไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ จากเปลือกมาเคลือบในเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีสารอาหารมากกว่าข้าวชนิดอื่นๆ ข้าวฮางเป็นข้าวน้ำนมที่มีระยะแก่ในระยะเก็บเกี่ยว โดยนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำและไปนึ่งก่อนนำมาสีเป็นข้าวกล้อง ซึ่งทำได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า
  • การทำข้าวฮางงอก เป็นการเอาเปลือกหรือแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักทำให้โปรตีนแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ อยู่ครบถ้วน ดมื่อหุงสุกเมล็ดก็ไม่เกิดการแตกร้าว เมื่อนำไปสีจึงทำให้มีสีเหลือง ซึ่งการนำข้าวไปแช่น้ำเพื่อกระตุ้นให้เกิดการงอกนี้ทำให้มีปริมาณสารกาบาในเมล็ดมากขึ้นเป็น 10 เท่าของสารอาหาร
  • สรารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยต้านทานป้องกันมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ดี และโรคเกาต์ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
  • มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคุญอยู่ครบทุกตัว ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินอี กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม ฯลฯ
  • ดังนั้นข้าวฮางงอกจึงเปรียบเทียบได้กับการรับประทานยาหรือวิตามิน,สมุนไพรเข้าไปพร้อมกันนอกจากอิ่มท้องแล้วยังทำให้ร่งกายแข็งแรง ห่างไกลโรค และเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยหรือผู้ที่รักสุขภาพอย่างแท้จริง ข้าวฮางงอกจึงสมกับเป็นมหัศจรรย์อาหารด้านโรคโดยแท้

ขั้นตอนการทำข้าวฮางงอก

  1. แช่ข้าวเปลือก นำข้าวที่ผ่านการเก็บสิ่งเจือปน เช่น ฟางข้าว หญ้า ใบไม้ ฯลฯ ลงในน้ำให้ท่วมประมาณหนึ่งฝ่ามือ ตักข้าวเปลือกที่ลอยน้ำซึ่งเป็นเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือเฉพาะข้าวเปลือกที่จมน้ำเท่านั้นทิ่งไว้ 22-24 ชั่วโมง
  2. บ่มเพาะข้าวเปลือก ตักข้าวเปลือกที่แช่ไว้ใส่ถุงปุ๋ยหรือกระสอบเพื่อบ่มเพาะให้เกิดกระบวนการงอกของเมล็ดข้าว ทิ้งไว้ 1-2 วัน สังเกตการงอกของเมล็ด
  3. นึ่งข้าว นำข้าวที่บ่มเพาะจนงอกแล้วไปนึ่งอาจใส่สมุนไพรหรือใบเตยด้วยก็ได้ ถ้าข้าวแห้งให้พรมน้ำ เมื่อเมล็ดข้าวแตกแสดงว่าสุกให้ยกลง แล้วนำไปตาก
  4. เมื่อตากข้าวจนแห้งจนได้ที่แล้วก็จะนำข้าวไปสีกะเทาะเปลือก แล้วคัดเลือกเมล็ดข้าวที่เสียหรือไม่สมบูรณ์ออกไป แล้วบรรจุในภาชนะที่สะอาดและแห้งสนิท หรือบรรจุในถุงสูญญากาศ

 

วันที่ 10 สิงหาคม 2565

ข้าพเจ้าเข้าศึกษาเรียนรู้บทเรียน BCG e-learning ในหัวข้อดังต่อไปนี้

วันที่ 13 สิงหาคม 2565

ข้าพเจ้าลงพื้นสำรวจเก็บข้อมูล cbd.u2t.ac.th และได้รับมอบหมายได้รับผิดชอบเก็บข้อมูล 50 ครัวเรือน หมู่ที่7 บ้านหนองหว้า ตำบลทรัพย์พระยา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าเก็บได้ทั้งหมด 25 หลังคาเรือน ได้เก็บข้อมูลในหัวข้อดังนี้

  • ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่อกจากสถานการณ์โควิด
  • แหล่งท่องเที่ยว
  • ที่พัก/โรงแรง
  • ร้านอาหารในท้องถิ่น
  • อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  • เกษตรกรในท้องถิ่น
  • สัตว์ในท้องถิ่น
  • พืชในท้องถิ่น
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • แหล่งน้ำในท้องถิ่น

จากที่ได้สำรวจพบว่าส่วนใหญ่ชาวบ้านทำเกษตรกร ทำนา ทำไร่ ปลูกผักสวนครัวไว้เป็นอาหารเพื่อรับประทานในครัวเรือน และเลี้ยงสัตว์ ปัญหาของการลงพื้นที่เก็บข้อมูล คือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านไปนาไปไร่ แต่ข้าพเจ้าก็ได้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่

   

วันที่14 สิงหาคม 2565

ลงพื้นที่สำรวจซ่อมโรงสีให้ชาวบ้าน ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสี ตำบลทรัพย์พระยา เวลา10.00น. จากที่สำรวจ พบว่าโรงสีไม่ติด

 

เวลา13.00น. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล cbd.u2t.ac.th ได้ทั้ง 25 ครัวเรือน ที่เหลือจนครบตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย