ข้าพเจ้า นางสาวเจษฎากร ใยทา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2565
วันที่ 5-9 เดือนกันยายน 2565 ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ในเขตพื้นที่ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อปฎิบัติภารกิจ “ECT WeeK ”
จากนั้นได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลประชาชนในพื้นที่ เรื่องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขผ่านโครงการ U2T ภายใต้กิจกรรม ETC WEEK
บทบาทหน้าที่ กก.ศส.ปชต.
บทบาทของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบลมีหน้าที่ประสานงานของคณะกรรมการ
ศส.ปชต. ในการขับเคลื่อนและประชุมเชิงปฎิบัติการในการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรมระดับตำบล
- การบริหารจัดการศูนย์
– เป็นศูนย์ประสานงาน
– ประชุมคณะกรรมการ ศส.ปชต
– ขับเคลื่อนสนับสนุนการดำเนินงานในโครงการ
- การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
– เสริมสร้างพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย
– การเลือกตั้ง การลงคะแนน
– ส.ส.เขต การแบ่งเขต
- ขยายเครือข่ายพลเมือง
– หมู่บ้านไม่ขายเสียงจำนวน 2 หมู่
- ส่งเสริมหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตย
– มีการขยายส่งเสริมสร้างหมู่บ้านพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย (หมู่บ้านไม่ขายเสียง)
- ส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย
– รณรงค์ให้มีการออกมาเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง
- มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
– เป็นคณะกรรมการในการเลือกตั้ง
– ร่วมประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
สรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
- วัน เวลา สถานที่
วันที่ 1 วันที่ 5 กันยายน 2565 สถานที่ กศน. ตำบลเสม็ด เวลา 09:30 น.
วันที่ 2 วันที่ 6 กันยายน 2565 สถานที่ บ้านไทยพัฒนา เวลา 09:30 น.
วันที่ 3 วันที่ 7 กันยายน 2565 สถานที่ บ้านหัววัว เวลา 09:30 น.
วันที่ 4 วันที่ 8 กันยายน 2565 สถานที่ บ้านโคกใหญ่ เวลา 09:30 น.
- รายชื่อกรรมการ ศส.ปชต. ที่ร่วมให้ข้อมูล นางเพ็ญศรี สุวรรณพึง นางพเยาว์ เสงี่ยมศักดิ์
- ประเด็นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
3.1 บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้าง
เครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
– เป็นศูนย์กลางการพัฒนาประชาธิปไตย
– ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
– ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตย
– สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
3.2 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร
ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
ยกตัวอย่าง เช่น การดำเนินการกิจกรรมหรือลงประชามติจะต้องใช้เสียงส่วนมากในการตัดสินใจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
3.3 การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของ
ผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
ลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ที่ดี
มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับพี่น้องประชาชน มีคุณธรรม จริยธรรม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีความเป็นประชาธิปไตยให้มาก
3.4 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
การดำเนินชีวิตของชาวบ้าน คำนึงถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยกตัวอย่าง ชาวบ้านปลูกผักกินเอง
มีเหลือก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน คำนึงถึงความจำเป็นมากน้อยว่าควรใช้จ่ายหรือไม่
- ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่
เนื่องจากมีการเข้าไปสอบถามข้อมูลโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าทำให้ได้เนื้อหาไม่ครบถ้วนตามจริง
ไม่ชำนาญในเส้นทาง ทำให้การเดินทางสำรวจทำได้ลำบาก
- ข้อเสนอแนะ
ในการสำรวจข้อมูลมีระยะเวลาอันสั้น ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนและทั่วถึง
ควรมีการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ในเรื่องประชาธิปไตยเพิ่มเติม
ควรมีการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับชุมชน เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของ ศส.ปชต. ให้มากขึ้น