การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
ข้าพระเจ้า นายเอกนรินทร์ สุขบัติ ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านกระเบื้องใหญ่ บ้านเลขที่ 12 หมู่ 4 บ้าน นางปิยะวรรณ์   สมการณ์

พบว่ามีการเลี้ยงไหม ปลูกหม่อน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และ ชุมชน

การเลือกพื้นที่ปลูก

หม่อนสามารถปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศทุกภาคของประเทศไทย แต่ถ้าจะให้การปลูกหม่อนได้ผลดี ควรเลือกพื้นที่ที่มีดินร่วนซุย หน้าดินลึก มีการระบายน้ำดี แปลงหม่อนไม่ควรห่างจากโรงเลี้ยงมากจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการขนส่งใบหม่อนไปเลี้ยงไหมและไม่ควรปลูกหม่อนใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ไร่ยาสูบ หรือแปลงพืชที่มีการใช้สารเคมีบ่อยครั้ง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตัวหนอนไหม
พันธุ์หม่อน
1. หม่อนน้อย เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้ กิ่งมีขนาดใหญ่ ลำต้นสีนวล มีตามาก ลักษณะของใบหนาเป็นมันสีเขียวแก่รูปใบโพธิ์ขอบใบเรียบ ลักษณะที่ดีของพันธุ์นี้คือทนแล้ง ขยายพันธุ์ง่ายด้วยกิ่งปักชำ ให้ผลผลิตประมาณ 1,500-2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี แต่ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า
2. หม่อนสร้อย เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้ กิ่งมีขนาดใหญ่แตกแขนงมาก ใบมีทั้งขอบใบเรียบและขอบใบเว้า อยู่ในต้นเดียวกัน ใบบางเหี่ยวเร็ว ผิวใบสากมือ เป็นหม่อนที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี
3. หม่อนไผ่ เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย กิ่งมีขนาดปานกลาง ลำกิ่งอ่อนโค้ง สีน้ำตาลเขียว ลักษณะใบเว้า มีพื้นที่ใบน้อย ใบบางสากมือ ให้ผลผลิตต่ำ แต่มีข้อดีคือ ต้านทานโรครากเน่า จึงเหมาะสำหรับปลูกเป็นต้นตอ เพื่อติดตาหม่อนพันธุ์ดีหรือพันธุ์ลูกผสม
4. หม่อนคุณไพ เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย กิ่งมีขนาดใหญ่ ขอบใบไม่เว้า ใบมีลักษณะเป็นคลื่น ค่อนข้างบาง ให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อโรครากเน่า แต่ไม่ทนแล้งและเหี่ยวง่าย
5. หม่อนนครราชสีมา 60 (นม. 60) เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย ลำต้นตั้งตรง กิ่งสีเทา ใบเป็นรูปใบโพธิ์ ใบเลื่อมมัน หนาปานกลาง ผิวใบเรียบ เป็นหม่อนพันธุ์ลูกผสม ให้ผลผลิตประมาณ 3,600 กิโลกรัม/ไร่/ปี ต้านทานต่อโรคราแป้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา
6. หม่อนบุรีรัมย์ 60 (บร. 60) เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมีย ลำต้นตั้ง ตรง หลังจากมีการตัดแต่งแล้วสามารถ แตกกิ่งได้เร็ว กิ่งมีสีน้ำตาล ใบไม่แฉก ผิวใบเรียบ ใบใหญ่หนา อ่อนนุ่ม ให้ผลผลิตดี ในสภาพที่มีน้ำ เป็นหม่อนพันธุ์ลูกผสม ให้ผลผลิตประมาณ 4,300 กิโลกรัม/ไร่/ปี ขยายพันธุ์โดยการปักชำ
การเตรียมดิน
สำหรับพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดี ก่อนปลูกควรไถดินให้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และควรตากดินไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อให้วัชพืชตาย จากนั้นจึงไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบอีกครั้งหนึ่งสำหรับพื้นที่ที่ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์หรือผ่านการปลูกพืชอื่นจนดินเสื่อมสภาพแล้ว ควรขุดหลุมหรือขุดร่องตามแนวที่จะปลูกกว้างและลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร แล้วใส่พวกอินทรียวัตถุปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกรอง ก้นหลุม หากสภาพดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวลงไปด้วยแล้วกลบดินให้มีลักษณะนูนเป็นหลังเต่า จากนั้นจึงทำการปลูกหม่อน

การจัดการสวนหม่อน

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการ การจัดการที่ดีต้องมีการวางแผนการดำเนินงานและมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่แน่ชัด ดังนี้

1. การวางแผน จะต้องมีการวางแผนก่อนว่าจะเลี้ยงไหมปีละกี่รุ่น จำนวนไข่ไหมกี่แผ่นหรือกล่องต่อรุ่น เพื่อที่จะได้กำหนดพื้นที่ปลูกหม่อนให้เพียงพอแก่การเลี้ยงไหม เช่น

– ไหมพันธุ์ไทย หมายถึง ไหมพันธุ์พื้นเมือง รังไหมสีเหลืองขนาดเล็ก ไหม 1 แผ่นหรือกล่อง (20,000ฟอง) กินใบหม่อน 200 กิโลกรัม

– ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม หมายถึง ไหมลูกผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับพันธุ์ต่างประเทศ (จีน/ญี่ปุ่น) รังไหม

สีเหลือง ไหม 1 แผ่นหรือกล่อง (20,000 ฟอง) กินใบหม่อน 300 กิโลกรัม

– ไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ หมายถึง ไหมลูกผสมที่เกิดจากพันธุ์ต่างประเทศผสมกัน ระหว่างพันธุ์จีนกับญี่ปุ่น รังไหมสีขาว ไหม 1 แผ่นหรือกล่อง (20,000 ฟอง) กินใบหม่อน 450-500 กิโลกรัม

การเลี้ยงไหม

เส้นใยที่นำออกมาทอเป็นผ้าไหมนั้นได้มาจากใยที่ห่อหุ้มดักแด้ที่เรียกว่า “รังไหม” ซึ่งรังไหมนี้ก็คือ ช่วงชีวิตหนึ่งของผีเสื้อกลุ่ม Lepidoptera ที่อยู่ในวงศ์ Bombycidae สำหรับไหมที่ใช้เลี้ยงเพื่อผลิตเส้นใยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx Mori

ผีเสื้อไหม

ตัวผีเสื้อจะมีปีก 2 ปีก สีขาวปนเทาไม่มีปากแต่มีรอยเหมือนปาก ผีเสื้อตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ บินไกลไม่ได้ ลักษณะการบินเหมือนการกระโดดไกลๆอายุของผีเสื้อไหมมีช่วงเวลาที่สั้นมากภายหลังการผสมพันธุ์และออกไข่แล้วผีเสื้อไหมจะตายรวมเวลาแล้วประมาณ 2-3 วัน
ผีเสื้อไหม Bombyx Mori หลังจากที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ประมาณ 250-500 ฟอง ต่อแม่พันธุ์1ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของผีเสื้อ

ตัวหนอนไหม

ตัวหนอนวัยที่ 1-2 ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนเล็กๆกินใบหมอนหั่นฝอยละเอียดอยู่ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวโตขึ้น หลังจากการลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา1วัน1คืน เรียกว่า “ไหมนอน” เมื่อครบกำหนดจึงกินอาหารต่อเป็นหนอนระยะที่สอง ประมาณ2-3วัน แล้วลอกคราบอีกครั้ง จากนั้นจะนอนต่อ 1 วัน 1 คืน เมื่อตื่นมาก็จะเป็นหนอนระยะที่สาม
ตัวหนอนวัยที่ 3 หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบนอน 1 วัน 1 คืน แล้วจะเข้าสู่ระยะที่สี่
ตัวหนอนระยะที่ 4 นี่จะกินอาหารจำนวนมากโตเร็วใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายใช้เวลาประมาณ 7-8 วันเป็นระยะที่หนอนไหมกินใบหม่อนมากเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีต่อมไหมเกิดขึ้นภายในตัวไหม ทำให้ตัวหนอนไหมมีสีเหลืองเรียกว่า “ไหมสุก” ตัวไหมสุกจะมีลำตัวสั้นและเล็กลงเล็กน้อย ตัวโตใสและหยุดกินใบหมอนเริ่มชูหัวส่ายหาที่ทำรัง
ตัวหนอนไหมที่สุกเต็มที่จะถูกเก็บรักษาเข้า “จ่อ” เพื่อชักใยทำรังเป็น ”รังไหม” ที่เรานำมาสาวเส้นใย นำไปทอเป็นผ้าไหมนั่นเอง
ตัวหนอนวัยที่ 3 หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบนอน 1 วัน 1 คืน แล้วจะเข้าสู่ระยะที่สี่
ตัวหนอนระยะที่ 4 นี่จะกินอาหารจำนวนมากโตเร็วใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายใช้เวลาประมาณ 7-8 วันเป็นระยะที่หนอนไหมกินใบหม่อนมากเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีต่อมไหมเกิดขึ้นภายในตัวไหม ทำให้ตัวหนอนไหมมีสีเหลืองเรียกว่า “ไหมสุก” ตัวไหมสุกจะมีลำตัวสั้นและเล็กลงเล็กน้อย ตัวโตใสและหยุดกินใบหมอนเริ่มชูหัวส่ายหาที่ทำรัง
ตัวหนอนไหมที่สุกเต็มที่จะถูกเก็บรักษาเข้า “จ่อ” เพื่อชักใยทำรังเป็น ”รังไหม” ที่เรานำมาสาวเส้นใย นำไปทอเป็นผ้าไหมนั่นเอง

รังไหม

รังไหมมีลักษณะกลมรี มีทั้งสีขาวและสีเหลืองขึ้นอยู่กับพันธุ์ของรังไหม รังไหมประกอบไปด้วย เส้นใยคือโปรตีนที่แข็งตัวซึ่งตัวไหมหลั่งออกมาจากต่อมที่ศีรษะเรียกว่า Fibroin และมีโปรตีนที่ช่วยยึดให้ติดกันเป็นรังไหมที่เรียกว่า Serricin
ตัวหนอนไหมจะเริ่มชักใยจากข้างนอนเข้าหาตัวเป็นรูปตัววี ตรงกลางคอดเล็กน้อย ใยไหมนี้จะขับออกมาจากต่อมที่ศีรษะสองต่อม ก่อนชักใยไหมตัวหนอนไหมจะงอตัวเองเข้าเป็นรูปเกือกม้า แล้วยกศีรษะส่ายไปมาเป็นรูปเลข8 จะชักใยออกมาครั้งแรกค่อนข้างยุ่งแล้วค่อยๆเรียงเป็นระเบียบขึ้นทุกที ไหมจะชักใยออกมาทีละสองเส้นพร้อมกัน ยึดติดกันเป็นเส้นเดียวกันโดยขี้ผึ้งหรือ Serricin ที่หุ้มเส้นใยแต่ละเส้น เมื่อแข็งตัวจะยึดติดกันแน่นดูเป็นเส้นเดียวหนอนไหมจะชักใยทำรังเสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง แล้วจะหยุดพัก มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาภายใน หนังเปลือกนอนของตัวหนอนจะแข็งแรงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดูเหมือนไม่มีชีวิต เรียกว่า “ดักแด้” ตัวดักแด้นี้จะนอนอยู่ในรัง 10-12 วัน แล้วลอกคราบพัฒนาตัวเองอีกครั้งกลายเป็นผีเสื้ออยู่ภายในรัง เมื่อพร้อมก็จะพ่นน้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายเจาะรังไหมออกมาสู่โลกภายนอก
ตัวหนอนไหมจะเริ่มชักใยจากข้างนอนเข้าหาตัวเป็นรูปตัววี ตรงกลางคอดเล็กน้อย ใยไหมนี้จะขับออกมาจากต่อมที่ศีรษะสองต่อม ก่อนชักใยไหมตัวหนอนไหมจะงอตัวเองเข้าเป็นรูปเกือกม้า แล้วยกศีรษะส่ายไปมาเป็นรูปเลข8 จะชักใยออกมาครั้งแรกค่อนข้างยุ่งแล้วค่อยๆเรียงเป็นระเบียบขึ้นทุกที ไหมจะชักใยออกมาทีละสองเส้นพร้อมกัน ยึดติดกันเป็นเส้นเดียวกันโดยขี้ผึ้งหรือ Serricin ที่หุ้มเส้นใยแต่ละเส้น เมื่อแข็งตัวจะยึดติดกันแน่นดูเป็นเส้นเดียวหนอนไหมจะชักใยทำรังเสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง แล้วจะหยุดพัก มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาภายใน หนังเปลือกนอนของตัวหนอนจะแข็งแรงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดูเหมือนไม่มีชีวิต เรียกว่า “ดักแด้” ตัวดักแด้นี้จะนอนอยู่ในรัง 10-12 วัน แล้วลอกคราบพัฒนาตัวเองอีกครั้งกลายเป็นผีเสื้ออยู่ภายในรัง เมื่อพร้อมก็จะพ่นน้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายเจาะรังไหมออกมาสู่โลกภายนอก