ข้าพเจ้านางสาวชัญญา โชตินัทธวัฒน์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG) ภายในเดือนสิงหาคม ทางทีมงานได้ทำงานลงพื้นที่ เพื่อจัดอบรมให้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นการอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ รวมไปถึงข้อมูลต่าง ๆ วิธีการผลิตกระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ชาวบ้านภายในชุมชน และภายในวันที่ 13-14 เดือoสิงหาคม พ.ศ.2565 ทางทีมงานได้มีการจัดกิจกรรมสร้างผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า ซึ่งได้มีชาวบ้าน ผู้นำชุมชน วิทยากร อาจารย์ เข้าร่วมการอบรม และปฏิบัติในครั้งนี้ด้วย

                                             

          ภายในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน มีการจัดอบรมให้กับผู้นำชุมชน และชาวบ้านภายในหมู่บ้าน เริ่มจากการอธิบายที่มาของโครงการ เพื่อให้ชุมชนและผู้นำชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และผลประโยชน์ที่จะได้รับ จากการทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ รวมไปถึงการให้ทุกคนได้ร่วมกันเลือก และคิดค้นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความสนใจ และตามความเหมาะสมอีกด้วย ต่อมาในวันที่ 13-14 สิงหาคม 2565 ทางผู้ปฏิบัติงานได้มีการจัดกิจกรรมการทำกระเป๋าและพวงกุญแจจากเศษผ้า เศษผ้าที่นำมาใช้ในการทำ เป็นเศษผ้าไหมที่ไม่ถูกใช้งานแล้ว สามารถพบได้ตามร้านผ้าทั่วไป ซึ่งหาได้ง่ายต่อการนำมาทำผลิตภัณฑ์ ผู้ปฏิบัติงานจึงได้เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการทำกระเป๋าจากเศษผ้ามาให้ความรู้ และสอนวิธีการทำให้แก่ชุมชน ในการเข้าอบรมครั้งนี้ชาวบ้านในชุมชนที่เข้าอบรม จะได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกัน ได้แก่ กระเป๋าสะพายข้าง กระเป๋าสตางค์ และพวงกุญแจจากเศษผ้า โดยชาวบ้านที่เข้าร่วมอบรมจะต้องลงมือปฏิบัติชิ้นงานให้ได้อย่างน้อยคนละ 1 ชิ้นงาน ซึ่งชาวบ้านภายในชุมชนให้ความร่วมมือ และปฏิบัติได้เป็นอย่างดี จากการจัดอบรมครั้งนี้ทำให้เกิดแรงผลักดัน และกระตุ้นให้ชาวบ้านมีความสนใจที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ต่อไปภายในอนาคต

          จากที่ข้าพเจ้าได้ลงชุมชนในตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มาจากเศษผ้านั้น ข้าพเจ้าไปลงมือปฏิบัติงานจริง โดยได้มีการใช้จักรเย็บผ้า แยกผ้า และการเย็บพวงกุญแจ รวมไปถึงได้เรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านภายในชุมชน จึงได้เล็งเห็นว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก และสามารถทำชิ้นงานได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะเป็นงานที่ชาวบ้านค่อนข้างที่จะถนัด แต่ข้าพเจ้าได้เล็งเห็นถึงปัญหาเรื่องเครื่องจักรเย็บผ้าของชาวบ้านที่เพียงพอในการผลิต และปัญหาเรื่องการขายออนไลน์  ทางผู้ปฏิบัติงานจึงได้ประชุม และนัดหมายชาวบ้านเพื่ออธิบายและจัดอบรมในเรื่องของการขายออนไลน์ให้กับชาวบ้านภายในชุมชน เพื่อชาวบ้านจะได้นำ