รายงานผู้ปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้าง

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG( U2T BCG ) ประจำเดือนกันยายน 2565
ดิฉัน นางสาว ธัญญาภักษ์ โสกูล ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน รับผิดชอบพื้นที่ในเขตตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลกิจกรรมและแผนการดำเนินงาน ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร:HS01-1 สร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมรากฐานของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพและมีระบบการจัดการตลาดอย่างยั่งยืน จากผลผลิตที่มีในชุมชน คือกล้วยและมันม่วง ที่มีปลูกเกือบทุกครัวเรือนในชุมชน สู่ผลิตภัณฑ์ทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือนกันยายน 2565 และในเดือนนี้ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุแป้งกล้วย และผลิตภัณฑ์บรรจุทองม้วนมันม้วง ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนและแป้งกล้วย เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนและแป้งกล้วย ให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาในแง่ของการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ในชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาอีกประการหนึ่งที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชน ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น มีความกินดีอยู่ดี ตลอดจนกระทั่งการต่อยอดสู่การส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

 

การประชุม online และ onsite
28 สิงหาคม 2565
สรุปการประชุมวันที่ 28 สิงหาคม
1. เรื่องทอดผ้าป่าคณะ วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคมประชุมออนไลน์ 15:30 เตรียมไปร่วมทำบุญเสวนาชุมชนของคณะ
2. เรื่องจัดอบรมวันอังคารที่ 6 กันยายน ช่วงเช้าเวลา 10:00 – 12:00 น. มีวิทยากรมาให้ความรู้
– เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำท้องม้วนและกล้วยทอด
– เตรียมแป้งกล้วยบดให้เรียบร้อย
– เชิญชาวบ้านผู้สนใจมาร่วมอบรม 15-20คน
– จัดสถานที่วันที่ 4 หรือ 5 ที่ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่7 บ้านหนองบัวราย
-มีเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม
4. มหาลัยให้ ออกบูธ ขายสินค้างาน วันรับปริญญา 14-18 กันยายน 2565
สินค้าที่ขาย
– แป้งกล้วยทอดกรอบ
– มัน/กล้วยชุบแป้งทอด
– ทองม้วนมันม่วง
สรุป การประชุมออนไลน์วันที่ 29 สิงหาคม
1.ขายสินค้าในงานซ้อมรับปริญญาที่มหาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
วันที่ 14 กันยายน เตรียมสถานที่บริเวณสนามเทนนิสเต็นท์ กว้างประมาณ 3 × 3 เมตรเรียงตามรหัสโครงการ
วันที่ 15 กันยายน เริ่มจำหน่ายสินค้าถึงวันที่ 18 กันยายน
2.เรื่องเตรียมตัวไปร่วมทำบุญงานผ้าป่าเสวนาชุมชน ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 31 สิงหาคมเวลา 08:30 น. เริ่มแห่ตรงทางเข้าศูนย์เรียนรู้ 150-200 เมตรโดยวงดนตรีและมีชาวบ้านร่วมด้วย *กำหนดการตามประกาศ


31 สิงหาคม 2565
ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ จับมือกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และท้องถิ่น จัดงานบุญทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน หารายได้สมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง หวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตามรอยพ่อหลวง เมื่อวันที่ 31 ส.ค.65 นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดงานทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
เพื่อต้องการให้ อ.นางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงาน และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมด้วย โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งนี้กิจกรรมภายในงานนอกจาก พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีแล้ว ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption” โดย นายโจน จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และการเสวนาชุมสร้างสรรค์เรื่อง “เกษตรอินทรีย์ บนวิถีพอเพียง:ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายก อบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ “ช่างดำอินดี้” เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา
นายอำเภอนางรอง เปิดเผยว่า การทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับ กสิกรรมธรรมชาติ และเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข

วันที่ 3 กันยายน 2565

เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เพื่อเตรียมงานจัดอบรมให้กับชาวบ้านในชุมชน เชิญชาวบ้านผู้สนใจมาร่วมอบรม ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวรายภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยทอดกรอบและทองม้วนมันม่วง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และให้สมาชิกทุกคนเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำท้องม้วนและกล้วยทอด เตรียมแป้งกล้วยบดให้เรียบร้อย

วันที่ 4 กันยายน 2565

จัดอบรมการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ “แป้งกล้วยทอดกรอบและท้องม้วนมันม่วงเพื่อเพิ่มคุณค่าและเศรษฐกิจ” ชุมชนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้เริ่มอบรมเวลา 10.00 น.-12.00 น. ณ ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยวิทยากรได้แก่ อาจารย์สุมนัสชนก นาคแท้ และอาจารย์วาทิน ประชานันท์ ได้ให้ความรู้และการส่งเสริมการทำแป้งกล้วยและทองม้วนมันม่วงแก่ผู้ร่วมอบรม ซึ่งกิจกรรมต่อมาหลังจากผู้ร่วมอบรมได้ความรู้แล้วนั้น จึงได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อทดลองทำกล้วยชุบแป้งทอด โดยใช้แป้งกล้วยจากแบรนด์สิงห์คู่  ผู้ร่วมอบรมให้ความสนใจเป็นอย่างมากและชื่นชอบแป้งกล้วยเพราะมีความหอม กรอบ อร่อย สีสันน่ารับประทาน

วันที่ 9 กันยายน 2565
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม เวลา 10.00 น.-12.00 โดยการจัดการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการอบรมในครั้งนี้มีวิทยากรที่มาให้ข้อมูล โดย อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการอบรมในครั้งนี้เป็นการทำงานสืบเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา จนมาถึงการสรุปการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สินค้าให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในโครงการนี้ คือ ตราสิงห์คู่

15-18 กันยายน 2565
ออกบูธเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า ทางกลุ่มรับผิดชอบพื้นที่ในเขตตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลกิจกรรมและแผนการดำเนินงาน ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการร่วมพัฒนาโครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบบูรณาการ U2T ในงานรับปริญญาของราชภัฏบุรีรัมย์ ในระหว่างวันที่ 15 กันยายน-18 กันยายน 2565 ณ บริเวณในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีผลิตภัณฑ์ในตำบลอื่นๆได้เข้าร่วม ได้แก่ ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลพรสำราญ ตำบลบ้านคู ตำบลนาโพธิ์ ตำบลศรีสว่าง ตำบลบ้านคู ตำบลตูมใหญ่ และตำบลบัวทอง เป็นต้น โดยการออกบูธครั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากประชาชนผู้สนใจเข้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
สรุปผลการทำงานของเดือนกันยายน 2565
จากการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายในการปฏิบัติงานกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขนมไทยในพื้นที่ โดยที่มีการพัฒนาตั้งแต่บรรจุภัณของขนมทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วย และได้ตั้งชื่อ Logo ของผลิตภัณฑ์ คือ สิงห์คู่ ขนมทองม้วนและแป้งกล้วยได้พัฒนา มีการวางจำหน่ายอยู่ในและเขตชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง ในด้านการตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง การผลิตตามยอดการสั่งซื้อ โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบ้านสิงห์จึงได้สร้าง Page Facebook เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีการส้างรายได้เสริมให้ประชาชนพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อมูลชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้น กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม และแบบฟอร์มการถอดบทเรียน TSI ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรัมย์