โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

ประจำเดือนกรกฎาคม

นายวีระชน จันทะนาม

กระผม นายวีระชน จันทะนาม ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำบลหนองบัวโคกอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มประชาชน และเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น ข้าพเจ้าได้เข้ารายงานตัว พร้อมเอกสารในการสมัครงาน และได้เข้าไปตรวจสอบเอกสารเพื่อความถูกต้อง ณ อาคาร ๒๕ ชั้น ๒ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เวลา ๐๙.๓๐ น. ประธานในพิธี ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กล่าวเปิดงาน ชี้แจง ต้อนรับการดำเนินงานในโครงการ และให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้รับทราบและเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง

ภายหลังจากประธานในพิธีกล่าวเสร็จ ผู้ปฏิบัติงานเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลหนองบัวโคกมี ๓ ท่านได้แก่ อาจารย์จินตนา วัชรโพธิกร, อาจารย์ดร. อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร และAj. Ken Rithy จากนั้นได้แนะนำตนเองให้กลุ่มสมาชิกได้รู้จักกัน และอาจารย์ได้กล่าวแนะแนวในการปฏิบัติงานจนเข้าใจทุกคนแล้ว จึงได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการมอบหมายภาระงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งกระผมได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และได้ร่วมกันค้นหาผลิตภัณฑ์ในตำบลหนองบัวโคก ที่จะนำมาพัฒนา จึงได้เลือก ๒ ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ส้มหมู และปั้นดิน

   

เหตุผลที่เลือกส้มหมูเพราะส้มหมูนั้นเป็นที่นิยมรับประทานกันในท้องถิ่น ราคาไม่แพง และยังพบว่าในตำบลหนองบัวโคก มีกลุ่มที่ทำส้มหมูอยู่แล้ว เห็นควรที่จะนำเข้าไปพัฒนาและส่งเสริมเรื่องการตลาด ส่วนการปั้นดินภายในตำบลหนองบัวโคกมีการทำเครื่องปั้นดินเผา และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงคือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เป็นที่น่าสนใจเข้าไปพัฒนาต่อยอดในเรื่องการท่องเที่ยว เมื่อได้นำผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปพัฒนาแล้วอาจารย์ชี้แจงรายละเอียดการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและ เข้าใจทุกขั้นตอนจึงได้แยกย้ายกลับที่พักโดยสวัสดิภาพ

วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ได้ร่วมกับกลุ่มสมาชิกผู้ปฏิบัติงาน ลงแบบฟอร์ม C 01 ข้อเสนอโครงการมีทั้งหมด ๘ ส่วนได้แก่

  • ข้อมูลโครงการ
  • รายละเอียดสินค้าบริการ
  • รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ หรือจำหน่าย
  • การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน
  • การขายและรายได้
  • วัตถุประสงค์พัฒนา สินค้าบริการ
  • เทคโนโลยีนวัตกรรม
  • ทรัพยากรบุคคล

 

และได้ร่วมกันตรวจสอบข้อมูล c-01 ให้ครบและถูกต้องก่อนส่งให้อาจารย์ตรวจ ตามกำหนดเวลาโดยเสร็จสมบูรณ์

เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ได้รับแจ้งจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้ทีมผู้ปฏิบัติงาน ช่วยกันลงกรอกข้อมูลแบบฟอร์ม c-02 ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ จากนั้นกระผมได้นัดหมายโดยใช้ ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet มีหัวข้อสำคัญที่ต้องร่วมกันจัดทำ ๒ หัวข้อดังต่อไปนี้

  • ร่วมกันกรอกข้อมูลแบบฟอร์ม C-02 ในระบบ
  • การเขียนบทความคลิปวีดีโอ

ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก ทีมผู้ปฏิบัติงานมาโดยพร้อมเพียงกัน เมื่อถึงวันนัดหมาย กลุ่มสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองบัวโคก ได้มาร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลแบบฟอร์ม c-02 และแนวทางการเขียนบทความ เริ่มจากการทำแบบฟอร์ม c-02 ประกอบด้วย ๕ ส่วนดังต่อไปนี้

  • อธิบายแผนธุรกิจพอสังเขป
  • ข้อมูลทั่วไปของลูกค้า ธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของท่านคือใคร
  • การสร้างรายได้ของธุรกิจของท่าน
  • ธุรกิจของท่านมีช่องทางการจัดจำหน่ายและบริการของท่านอย่างไร
  • ราคาสินค้า product and Price

หลังจากทุบหัวข้อแบบฟอร์ม จึงร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งให้อาจารย์ตรวจเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นกระผมได้ชี้แจงแนวทางการเขียนบทความประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ ให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในตำบลหนองบัวโคก ให้ทุกคนได้เข้าใจถึงวิธีและขั้นตอนต่างๆในการเขียนบทความ จึงให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความเข้าใจ และเป็นแนวทางเดียวกัน ทั้งนั้นทางกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง ๓ ท่านจะเข้าไปพบผู้นำกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ส้มหมูที่บ้านห้วยศาลาหมู่ ๑ ตำบลหนองบัวโคก  อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์พร้อมกับเข้าพบเจ้าของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เพื่อนำไปพัฒนาในโครงการเพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชนและการท่องเที่ยว